การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
การประเมินผล, มหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ ความรู้ และความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus, 2) พัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus และ 3) ประเมินผลพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus ภายใต้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 215 คน กลุ่มที่ 2 คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 30 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Chi-square test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกและจัดกลุ่มข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า 1) การดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus เป็นไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น กำหนดแผนการดำเนินงานระดับอำเภอ เป็นต้น ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดำเนินงานเพิ่มมากขึ้น บุคลากรสาธารณสุขมีความพึงพอใจต่อบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ พชอ. ในการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus โดยภาพรวมที่ระดับมาก (=3.87, SD=0.71), 2) การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus เป็นการดำเนินงานร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน ภายใต้แนวคิด GROWTH Model ได้แก่ 2.1) การเพิ่มพูนความรู้ 2.2) การตระหนักถึงความสำคัญ 2.3) การมีส่วนร่วม 2.4) ความเต็มใจ 2.5) มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน และ 2.6) การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ 3) การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus มีความถูกต้อง เหมาะสม และมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ ควรขยายผล GROWTH Model ไปใช้กับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอทั่วประเทศต่อไป
References
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงาน ตำบลมหัศจรรย์ 1,000 วัน Plus สู่ 2,500 วัน. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
ราชกิจจานุเบกษา. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 14]. เข้าถึงได้จาก : http://www.Ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/054/1.PDF
สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลางตามแนวทางประชารัฐ. เอกสารอัดสำเนา; 2559.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. การดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2562.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานประจำปี 2566 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา; 2566.
Yamane T. Statistics: An introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.
เกษแก้ว เกตุพันธ์, ศุภลักษณ์ ธนธรรมสถิต, นภัชชล รอดเที่ยง, ไปยดา วิรัศมี, สิรินทร์ฉัตร์ มีแวว, สุกานดา ฟองเมือง. รูปแบบการดำเนินงานมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกของชีวิต กรณีศึกษาอำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. 2567;12(1):32-47.
ฐาปนิต อมรชินธนา. การศึกษาการพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อนนโยบาย โครงการมหัศจรรย์ 1,000 วันแรกแห่งชีวิต จังหวัดสุรินทร์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(1):186-202.
สุกฤตา สวนแก้ว, ศิวพร อึ้งวัฒนา, จิรานันท์ วงศ์สุวรรณ. การศึกษาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของสมาชิกในกลุ่มแม่และเด็ก อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2562;39(1):116-27.
วิภาดา กาญจนสิทธิ์, ปัณณทัต บนขุนทด. ความรู้ทัศนคติของมารดาหลังคลอดปกติที่เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 6 เดือน หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลบุรีรัมย์. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 “สังคมผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา; 2562 มีนาคม 30. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา; 2562.
อรุณ ประจิตร. การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานมหัศจรรย์พันวันแรกแห่งชีวิต อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2562;5(2):67-87.
ถนัด ใบยา, ยุพิน แตงอ่อน. การประเมินผลรูปแบบการดeเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาตำบลจัดการคุณภาพชีวิต จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2565;18(1):59-68.
Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation Theory, Models & Applications. San Francisco, CA: Jossey-Bass; 2007.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9