ผลของการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 โดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คำสำคัญ:
สถานการณ์จำลองเสมือนจริง, การรับรู้ความสามารถแห่งตน, การปฏิบัติการพยาบาลบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถแห่งตนและความเชื่อมั่นต่อการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่จะขึ้นฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 จำนวน 80 คน เก็บข้อมูลทั้งก่อนและหลังการใช้สถานการณ์จำลองผู้ป่วยในการเตรียมความพร้อม เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ สถานการณ์จำลองเสมือนจริงรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถแห่งตน ในการปฏิบัติการพยาบาลรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 และแบบประเมินความเชื่อมั่นต่อการสถานการณ์จำลองเสมือนจริง เครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบ Paired t-test
ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ ดังนี้ 1) คะแนนการรับรู้ความสามารถแห่งตนด้านการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลังการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง สูงกว่าก่อนใช้สถานการณ์จำลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.001 และ 2) นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีความเชื่อมั่นต่อการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ 1 ในระดับสูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.63 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน (SD=0.56)
References
สมัยพร อาขาล, ปัณณธร ชัชวรัตน์. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ หมวดวิชาชีพการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา; 2547.
ฐมาพร เชี่ยวชาญ, อภิฤดี พาผล. ความเครียดในการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2564; 15(1):21-8.
กล้าเผชิญ โชคบำรุง, ปาริชาติ วงศ์ก้อม, จินตนา สุวิทวัส. การรับรู้สมรรถนะตนเองทางการพยาบาลในการฝึกปฏิบัติวิชาการพยาบาลสุขภาพผู้ใหญ่ 1 ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2564; 44(2), 72-85.
Bahadir-Yilmaz E. Academic and clinical stress, stress resources and ways of coping among Turkish first-year nursing students in their first clinical practice. Kontakt. 2016; 18(3):e145–e151.
ศิริจิตร จันทร, ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล. ความพร้อมในการฝึกปฏิบัติในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2555;5(1):32-45.
Bandura A. The explanatory and predictive scopeof self-efficacytheory. Journal of Social and Clinical Psychology. 1986; 4(3):359-73. doi: 10.1521/jscp.1986.4.3.359
Negri EC, Júnior GAP, Cotta Filho CKC, Franzon JC, Mazzo A. Construction and validation of simulated scenario for nursing care to colostomy patients. Texto & Contexto-Enfermagem. 2019; 28:1-16.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 17.นนทบุรี: อาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์; 2567.
มาลี คำคง, ปรียนุช ชัยกองเกียรติ. การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองขั้นสูง: วิธีพัฒนาสมรรถนะทางการพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560; 4(ฉบับพิเศษ):S332-S334.
สมศรี ทาทาน, วรภรณ์ ศรีจันทร์พาล. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2560;23(1):1-10.
จันทิมา ช่วยชุม, ยุพิน หมื่นทิพย์. ผลของการเตรียมความพร้อมก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกโดยใช้ฐานการเรียนรู้ต่อตระหนักรู้ในความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลและความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 1. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2565;28(4):1-14.
ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. การสอนโดยการจำลองสถานการณ์เสมือนจริงในรายวิชาปฏิบัติ หลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2560;9(2):70-84.
รังสรรค์ มาระเพ็ญ. การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผู้ป่วยจําลองในสถานการณ์เสมือนจริงในการศึกษาการพยาบาลอนามัยชุมชน [วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2562.
ศุภรัตน์ แจ่มแจ้ง, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์, บำเพ็ญ พงศ์เพชรดิถ, ดวงแข พิทักษ์สิน, ปิยะนาฏ ช่างเสียง, อังคณา หมอนทอง. ผลการเตรียมความพร้อมในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้สถานการณ์จำลอง เสมือนจริงต่อตระหนักรู้ในความสามารถในการปฏิบัติการพยาบาลบนหอผู้ป่วย. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2560; 27(เล่มพิเศษ ธ.ค. 60):46-58.
สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นจําลองเสมือนจริงต่อความมั่นใจในตนเองและความพึงพอใจของนิสิตพยาบาลชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. การประชุมวิชาการ“มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่14 “50 ปีมหาวิทยาลัยมหาสารคามผู้มีปัญญาพึงเป็นอยู่เพื่อมหาชน”; วันที่ 6-7 กันยายน 2561; คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563: 600-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9