ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง
คำสำคัญ:
โปรแกรมเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพ, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง อย่างน้อย 1 โรค ที่มารับบริการในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกระฉอด อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 70 คน คัดเลือกโดยการสุ่มเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม ๆ ละ 35 คน กลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพ และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในการทดลองคือ โปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพ 6 ด้าน ได้แก่ การเสริมสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการกระตุ้นเตือนปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรค ดำเนินกิจกรรม 10 สัปดาห์ ประกอบด้วยการประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง การให้ความรู้ กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเยี่ยมบ้าน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) และสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการเสริมสร้างความเชื่อด้านสุขภาพสามารถส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ที่เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้
References
Lindsay MP, Norrving B, Sacco RL, Brainin M, Hacke W, Martins S, et al. World Stroke Organization (WSO): Global Stroke Fact Sheet 2019 [serial online]. 2020 [cited 2023 Nov 20]; Available from: https://www.world-stroke.org/assets/downloads/WSO_Fact-sheet_15.01.2020.pdf
สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุข. รณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2562 [อินเตอร์เน็ต] 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]; เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/133619/
World Stroke Organization. WSO applauds new scientific findings in stent thrombectomy for treating acute ischemic stroke with large vessel occlusion [serial online]. 2016 [cite 2023 Nov 29]; Available from: http://www.worldstrokecampaign.org/get-involved/world-stroke-day.-2016/en/
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลก ปี 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มีนาคม 3]; เข้าถึงได้จาก: https://datariskcom-ddc.moph.go.th/download/
กองโรคไม่ติดต่อ : สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันหลอดเลือดสมองโลก 2567 ชวนประชาชนตั้งเป้า ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อ. [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 พฤศจิกายน 1]; เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=47206&deptcode=brc&news_views=1623
American Diabetes Association Professional Practice Committee. 10. Cardiovascular Disease and Risk Management: Standards of Care in Diabetes-2024. Diabetes Care. 2024 Jan 1;47(Suppl 1):S179-S218. doi: 10.2337/dc24-S010.
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. "โรคหลอดเลือดสมองแตก ปี 2567". [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มีนาคม 3]; เข้าถึงได้จาก https://kinrehab.com/news/view/1042
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมอง 2564-2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มีนาคม 1]; เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/
เกษริน อุบลวงศ์, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2560;33(2):14-24.
อณัญญา ลาลุน, ไพฑูรย์ วุฒิโส. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาฝาย จังหวัดชัยภูมิ. วารสารพยาบาล. 2564;70(2):27-36.
กาญจนาพร ยอดภีระ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;1(2):19-27.
อรนุช ชูศรี, ปณวัตร สันประโคน, ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนเมือง กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2561;34(3):77-88.
วรกร วิชัยโย, เพ็ญศิริ จงสมัคร, สิริพร ชัยทอง, ศิริษา โคตรบุดดา. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2564; 14(2):25-35.
Baktash MQ, Naji AB. Efficacy of Health Belief Model in Enhancing Exercise Behavior to Prevent Stroke among Geriatrics Homes Residents in Baghdad City. Indian J Public Health Res Dev. 2019; 10(2):928-33.
จารุวรรณ จันดาหงส์, เดชา ทำดี, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มเสี่ยงในชุมชน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2566; 50(1): 300-13.
Maiman LA, Becker MH. The Health Belief Model: Original and correlation in psychological theory. Health Educ Monogr. 1975;2(4):336-53.
Cohen J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Erlbaum; 1988.
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. Thai CV risk score [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 2567 สิงหาคม 3]; เข้าถึงได้จาก: https://www.rama.mahidol.ac.th/cardio_vascular_risk/thai_cv_risk_score/
กรรณิการ์ เงินดี, สมคิด จูหว้า, อนุกูล มะโนทน, ทวีวรรณ ศรีสุขคำ, เทียนทอง ต๊ะแก้ว. ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารสุขศึกษา. 2564;44(2):171-86.
พันทิพพา บุญเศษ, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(2):28-41.
กฤษติพงษ์ ทิพย์ลุ้ย, ปุณญณิน เขื่อนเพ็ชร์. ประสิทธิผลของการให้ความรู้โดยประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. เชียงรายเวชสาร. 2562;11(2):19-24.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9