การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566 – 2570) กับการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ ของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการสำคัญ
คำสำคัญ:
การรับรู้; การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ; แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการ; โภชนาการบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับรู้แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566–2570) และการนำแผนสู่การปฏิบัติของหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการสำคัญ รวมถึงวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และขับเคลื่อนแผน ในช่วงเดือน ส.ค.2567-ม.ค.2568 ใช้เครื่องมือวิจัยที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยหาค่า IOC แบบสอบถามเท่ากับ 0.99 แบบสัมภาษณ์เท่ากับ 0.97 ใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่และร้อยละอธิบายข้อมูลทั่วไป หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอธิบายระดับการรับรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ และหาความสัมพันธ์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยวิจัยเชิงปริมาณผ่านแบบสอบถามกลุ่มเป้าหมาย 59 คน วิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนหน่วยงาน 7 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่หน่วยงานภาครัฐ (88.1%) เป็นข้าราชการ (64.4%) ระดับผู้ปฏิบัติงาน (52.5%) และระยะเวลาปฏิบัติงาน 1-5 ปี (37.3%) ภาพรวมการรับรู้แผน ระดับมาก (𝑥̅ = 3.707, SD=0.470) ภาพรวมการนำแผนไปปฎิบัติ ระดับปานกลาง (𝑥̅ = 3.450, SD=0.836) การรับรู้แผนมีความสัมพันธ์โดยตรงอย่างมากกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ (r=0.456, p=0.000) และพบความสัมพันธ์ที่สำคัญ เช่น การรับรู้ปัญหาด้านโภชนาการและสถานการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องมีความสัมพันธ์อย่างมากในเชิงตรงข้ามกับความพอเพียงของทรัพยากร อาจอธิบายได้จากวงจรความสนใจของปัญหาที่ภาครัฐตื่นตัวในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทรัพยากรอาจถูกจัดสรรให้กับปัญหาใหม่ที่เร่งด่วนกว่า นอกจากนี้ พบปัญหาอุปสรรค เช่น การสื่อสารที่ไม่ทั่วถึง งบประมาณที่จำกัด ขาดผู้รับผิดชอบงานโภชนาการในพื้นที่ มีข้อเสนอแนะ อาทิ การสื่อสารเชิงรุก ใช้สื่อหลากหลาย กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการสื่อสารและสร้างช่องทางแลกเปลี่ยนข้อมูล สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ ใช้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือหลักในการสื่อสารอย่างต่อเนื่องและทั่วถึงมากขึ้น
References
สำนักโภชนาการ. แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการแห่งชาติ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2566-2570) [อินเตอร์เน็ต]. สำนักโภชนาการ. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มิ.ย. 15]. เข้าถึงได้จาก: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/nutrition-action-plan
ภาสินี คุ้มคง, อนุรัตน์ อนันทนาธร. การศึกษาการนำนโยบายแผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTAYA (พ.ศ. 2563-2565) ไปปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยบูรพา[อินเตอร์เน็ต]. 2566[เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 15];15:177-193. เข้าถึงได้จาก https://ojs.lib.buu.ac.th/index.php/law/article/view/9056
เพ็ญศรี ชื่นชม. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าของงานกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางด้านการเงินและบัญชีในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 15];4:74-95. เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Lawpol_Journal/article/view/244815
อโณทัย งามวิจัยกิจ, รฐา เบญจพลานนท์, นันทิยา สมเจตนากุล. สำรวจการรับรู้แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ไปสู่การปฏิบัติของโรงพยาบาลในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ส.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก: https://plan.fda.moph.go.th/media.php?id=536746648030814208&name=binder18537.pdf
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. อนาคตไทย อนาคตเรา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2567 ส.ค. 27]. เข้าถึงได้จาก: http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/03/5_NS-ส่วนที่-1-บทนำ_070365.pdf
Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30:607-10.
Gignac GE, Szodorai ET. Effect size guidelines for individual differences researchers. Pers Individ Dif. 2016;102:74-8. doi:10.1016/j.paid.2016.06.069
กิติยา ทองทรัพย์ทวี. การรับรู้แผนยุทธศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี[อินเตอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 10]. เข้าถึงได้จาก http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/4089/3/20231002-Research-Kitiya%20T.pdf
วรินทร์ทิพย์ ศรีกงพล. การประเมินแผนยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565). วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ[อินเตอร์เน็ต]. 2567[เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 10];17:59-71. เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/265089/182453
อุบลวรรณ พุ่มไสว, เสมารัตน์ ปานท้วม. การประเมินผลยุทธศาสตร์ด้านทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค และแผนปฏิบัติการด้านทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค พ.ศ. 2563 – 2567 ระยะครึ่งแผน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2565) [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: กองบริหารทรัพยากรบุคคล กรมควบคุมโรค [เข้าถึงเมื่อ 2567 ธ.ค.20]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1497220231114024219.pdf
ทรรศวิช คำเจริญ, วรางคณา จันทร์คง, สมโภช รติโอฬาร. การประเมินผลระบบบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ ของหน่วยงานสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ[อินเตอร์เน็ต], 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 15];13:368-379. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RDHSJ/article/view/254887
วากร แสร์สุวรรณ, ธนัสถา โรจนตระกูล. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน: กรณีศึกษาเขตเทศบาลนครพิษณุโลก. Journal of Roi Kaensarn Academi[อินเตอร์เน็ต], 2565[เข้าถึงเมื่อ 2568 ม.ค. 15];7:349–364. เข้าถึงได้จาก: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255713
Downs A. “Up and down with Ecology-the “Issue-Attention Cycle.” [Internet]. 1972 [cited 2025 Jan 10]. Available from https://www.nationalaffairs.com/public_interest/detail/up-and-down-with-ecologythe-issue-attention-cycle
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9