ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาในการดูแลแบบประคับประคอง ของผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแล ต่อความเครียด ความมั่นใจ และผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษา, ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง, ความเครียด, ความมั่นใจ, ผู้ป่วยระยะท้ายบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นแบบหนึ่งกลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาในการดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแล ต่อความเครียด ความมั่นใจและผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลักและผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2567 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากผู้ดูแลและผู้ป่วยตามเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 30 คู่ เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการให้ความรู้และให้คำปรึกษาสำหรับผู้ดูแลผู้ดูแลหลักผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความเครียดความมั่นใจ และผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองของผู้ป่วยระยะท้ายแบบประคับประคอง หาความตรงของเนื้อหา ได้ค่า CVI=0.97 และหาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค=0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติทดสอบ Paired t-test และ Wilcoxon signed-rank test ที่ระดับนัยสำคัญ=0.05
ผลการวิจัย พบว่า หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมฯผู้ดูแลมีความเครียดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=4.80, p=0.001) มีความมั่นใจโดยรวมเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=4.78, p=0.001) และ มีค่าคะแนนผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองลดลงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z=4.70, p=0.001)
References
กิตติกร นิลมานัต, กัลยา แซ่ชิต. ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารสภา การพยาบาล. 2561;33(3):51-66.
World Health Organization. Palliative care [Internet]. 2020 [cited 2024 July 13]. Available: from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/palliative-care.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับ บุคลากรทางการแพทย์). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.
กระทรวงสาธารณสุข. ฐานข้อมูลกลาง กรมการแพทย์ [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กรกฎาคม 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dohdatacenter.anamai.moph.go.th/index.php
สุณัฎดา คเชนทร์ชัย, มุจจรินทร์ อัศวพัฒน์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายเพื่อการดูแลต่อเนื่องที่บ้านในผู้ป่วยนอก. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2564;17(3):27-36.
ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Handbook for Palliative Guidelines. ขอนแก่น: ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
สุมนกาญจน์ ลาภกิตติเจริญชัย. ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาผ่านไลน์แอปพลิเคชันที่มีต่อความเครียดและความเชื่อมั่นในศักยภาพของตนเองของผู้ดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. วารสารกรมการแพทย์. 2563;45(3):42-50.
กิติยาพร สังฆศรีสมบัติ, ชรินทร์พร มะชะรา, มนัสนันท์ พรมศรี, นิรันดร ผานิจ. การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้และให้คำปรึกษาผ่านแอปพลิเคชัน ไลน์ออฟฟิเชียลแอคเคานท์ สำหรับมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(2):623-41.
House JS. Work Stress and Social Support (Addison-Wesley series on occupational stress). Boston: Addison-Wesley Educational Publishers; 1981.
พุทธชาติ บุญชัย. การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองต่อเนื่องในชุมชนโรงพยาบาลท่าโรงช้าง จังหวัดสุราษฎร์ธานี [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กรกฎาคม 13].เข้าถึงได้จาก: https://srth.moph.go.th/research/file/20240524135839-78_2567%20%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%20%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2.pdf
กรมสุขภาพจิต. แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต (ST-5) [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 กรกฎาคม 13]. เข้าถึงได้จาก: https://env.anamai.moph.go.th/th/cms-of-87/download/?did=191892&id=37464&reload=
สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง, กาญจนา วิสัย. ผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองผู้ป่วยระยะท้าย ความเครียด และภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลหลักหลังใช้แนวปฏิบัติการดูแลประคับประคองที่บ้านในเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2563;16(2):104-17.
ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ความเครียดและการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2563;35(2):116-31.
พัชรีรัตน์ อันสีแก้ว, เยาวรัตน์ มัชฌิม, หทัยวรรณ รัตนบรรเจิดกุล. ผลของโปรแกรมการดูแลระยะ ท้ายต่อผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองและการรับรู้ระยะท้ายของชีวิตที่สงบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย. วารสารพยาบาลทหารบก. 2563;21(2):315-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9