บทบาทของหัวหน้างานในการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในโรงงานอุตสาหกรรม
คำสำคัญ:
การจัดการความปลอดภัย, อาชีวอนามัย, บทบาทหัวหน้างาน, โรงงานอุตสาหกรรมบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของหัวหน้างานในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ และเพื่อศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม
ผลการศึกษาพบว่า บทบาทของหัวหน้างานในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการเป็นหน้าที่ตามกฎหมายกำหนด โดยมีเป้าหมายให้ องค์กรและพนักงานในหน่วยงานตนเองมีสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัย ปราศจากอันตราย และอุบัติเหตุจากการทำงานได้ และแนวทางในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมที่ดี ซึ่งประกอบด้วย การมีนโยบายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ชัดเจนจากผู้บริหาร กำหนดหน้าที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน กำหนดแผนงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย มีการนำแผนงานไปปฏิบัติ มีการประเมินผล และมีการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้การทำหน้าที่อย่างเคร่งครัดของหัวหน้างานในการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และองค์กรมีการประยุกต์ใช้ แนวทางการบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการในโรงงานอุตสาหกรรมที่ดี จะช่วยให้องค์กร ลดปัญหาด้านการเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และการเจ็บป่วยจากการทำงานของพนักงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
มานิตย์ ประพันธ์ศิลป์. การสร้างเสริมสุขภาพของคนทำงานในสถานประกอบการ [อินเทอร์เน็ต]. 2543. [เข้าถึงเมื่อ 2568 กุมภาพันธ์ 1]. เข้าถึงได้จาก: https://dol.thaihealth.or.th/resourcecenter/sites/default/files/documents/_khnthamngaanainsthaanprakbkaar1.pdf
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2562-2566 [อินเตอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2568 มกราคม 15]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/files_storage/sso_th/1675d2a95c38687dd649989003beb08a.pdf
British Standards Institution. ISO 45001 Guide Book. London: BSI; 2020.
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 [อินเทอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 2568 มกราคม 18]. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนที่ 4 ก (ลงวันที่ 17 มกราคม 2554) เข้าถึงได้จาก: https://www.tosh.or.th/images/file/2016/osh-act.b.e.2554.pdf
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับเทคนิค. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน; 2567.
Gulick L. Notes on the theory of organization. In Shafritz JM, Ott JS, Jang YS, editors. Classics of Organization Theory. 3rd ed. Pacific Grove, CA: Brooks/Cole; 1992.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. คู่มือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับบริหาร. กรุงเทพฯ: กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน; 2567.
Juan S. Guidelines on Occupational Safety and Health Management Systems ILO-OSH 2001. 2nd ed. Geneva: International Labour Office; 2009.
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ. สหภาพแรงงานไทย การประชุมของการให้สัตยาบันและการปฏิบัติตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 [อินเทอร์เน็ต]. 2553. [เข้าถึงเมื่อ 2568 มกราคม 19]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ilo.org/asia/events/WCMS_187994/lang--en/index.htm
กรมสวัสดิการและคุมครองแรงงาน. กฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 2568 มกราคม 19]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2565/A/039/T_0009.PDF
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9