ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดต่อความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติของผู้ดูแลและการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียง
คำสำคัญ:
ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด, ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง, ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ, การกลับมารักษาซ้ำบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลังการทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด ต่อความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติของผู้ดูแล และการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียง สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงโดยใช้เกณฑ์การคัดเข้า คัดเลือกผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 30 ราย เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือด แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียง แบบทดสอบความรู้ (KR-20=0.81) แบบสอบถามทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ดูแลในการป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดในผู้ป่วยติดเตียง (Cronbach' alpha coefficient=0.88 และ 0.93 ตามลำดับ)
ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการเข้าร่วมโปรแกรม (=22.00, SD=0.00) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (
=19.47, SD=3.18) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=4.36) คะแนนเฉลี่ยทัศนคติหลังการเข้าร่วมโปรแกรม (
=39.10, SD=2.56) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (
=31.30, SD=3.91) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=9.13) คะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติหลังการเข้าร่วมโปรแกรม (
=66.70, SD=2.39) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (
=51.53, SD=9.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=8.92) ทัศนคติและการปฏิบัติของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียงในระดับปานกลางตามลำดับ (r=-0.586, r=-0.440) ส่วนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสเลือดไม่มีความสัมพันธ์กับการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียง
ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ดูแลเพื่อป้องกันการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยติดเตียง ภายใน 28 วัน เพื่อช่วยลดความรุนแรงและการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
References
World Health Organization. Sepsis [Internet]. 2024 [Cited 2024 Jan 15]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/sepsis
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด Community-acquired [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/view/?id=1608
กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด community-acquired [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2566 มกราคม 10]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=144fdf97a756b3f82dce197287e06316&id=00366a85bd3c2b6932a228df29137252
กลุ่มงานเวชสถิติโรงพยาบาลพิจิตร. ข้อมูลรายงานสรุปสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. พิจิตร: โรงพยาบาลพิจิตร; 2566.
วีรยา ด่านเสนา, ยอดชาย สุวรรณวงษ์. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงเชิงรุกเพื่อการเฝ้าระวังภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตของแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลแก่งคอย. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. 2564; 5(2);78-100.
กรรณิกา อำพนธ์, ชัชญาภา บุญโยประการ, พัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2560; 34(3):222-36.
สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, วิมลทิพย์ พวงเข้ม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30(1): 212-31.
บุญศรี พรหมมาพันธุ์. เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์ และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 2561; 11(1): 32-45.
ตวงทิพย์ ลดาวัลย์. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของนักเรียนพยาบาลทหารอากาศ ปีการศึกษา 2561. แพทยสารทหารอากาศ. 2563; 66(3): 1-11.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9