ปัจจัยเสี่ยงต่อการดำเนินโรคของภาวะไตวายเรื้อรังจากระยะที่ 3 เป็นระยะที่ 4 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา: การศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง
คำสำคัญ:
ปัจจัยเสี่ยงการดำเนินโรคไตวายเรื้อรัง, ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยที่ 3, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบการศึกษาจากเหตุไปหาผลแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการดำเนินโรคไตวายเรื้อรังและเพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงและความสัมพันธ์กับการดำเนินโรคของภาวะไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นระยะที่ 4 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพิมาย จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง 375 คน สุ่มอย่างเป็นระบบจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์ด้วยโมเดลเชิงเส้น โดยกำหนดตัวแปรตามให้มีการแจกแจงแบบทวินาม และกำหนดให้ Link function เป็นแบบ Logarithmic แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบ Exponentiated form จะได้ค่าสัมประสิทธิ์ในรูปแบบ Risk ratio (RR) โดยปรับแก้เพื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรกวนแล้วนำเสนอค่าความสัมพันธ์ด้วยอัตราเสี่ยง (RRadj) ประมาณค่าช่วงเชื่อมั่น ร้อยละ 95 (95%CI) และค่า p-value ที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดไตวายเรื้อรังระยะที่ 4 ร้อยละ 13.07 (95%CI=10.03-16.86)ปัจจัยเสี่ยงและความสัมพันธ์ต่อการดำเนินโรคไตวายเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นระยะที่ 4 โดยการควบคุมตัวแปรระดับน้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ไขมัน HDL และยาลดระดับน้ำตาลในเลือด พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) อายุมากกว่า 70 ปี มีโอกาสเสี่ยง 1.16 เท่า (RRadj=1.16, 95%CI=1.05-1.32); 2) HDL<40 mg% มีโอกาสเสี่ยง 1.26 เท่า (RRadj=1.26, 95% CI=1.122-1.41); 3) Microalbumin≥30 mg/g มีโอกาสเสี่ยง 1.43 เท่า (RRadj=1.43, 95%CI=1.25-1.61); 4) SBP≥140 mmHg มีโอกาสเสี่ยง 1.22 เท่า (RRadj=1.22, 95% CI=0.99-1.35); 5) DBP<90 mmHg มีโอกาสเสี่ยง 1.47 เท่า (RRadj=1.47, 95%CI=1.24-1.76) จากผลการศึกษาดังกล่าว คลินิกโรคไตควรพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างมีส่วนร่วม เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินโรคสู่ระยะที่ 4 เพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง
References
Bello AK, McIsaac M, Okpechi IG, Johnson DW, Jha V, Harris DCH, et al. International Society of Nephrology Global Kidney Health Atlas: structures, organization, and services for the management of kidney failure in North America and the Caribbean. Kidney Int Suppl (2011). 2021 May;11(2):e66-e76. doi: 10.1016/j.kisu.2021.01.001.
Health Data Center, Ministry of Public Health. Standard service plan report for nephrology [Internet]. 2024 [cited 2024 Aug 16]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th.
Shrestha N, Gautam S, Mishra SR, Virani SS, Dhungana RR. Burden of chronic kidney disease in the general population and high-risk groups in South Asia: A systematic review and meta-analysis. PLoS One. 2021 Oct 14;16(10):e0258494. doi: 10.1371/journal.pone.0258494.
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, บรรณาธิการ. ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2567.
คณะอนุกรรมการป้องกันโรคไตเรื้อรัง สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย, บรรณาธิการ. คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทน พ.ศ. 2565 (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ: สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย; 2565.
American Diabetes Association Professional Practice Committee. Summary of Revisions: Standards of Care in Diabetes-2024. Diabetes Care. 2024 Jan 1;47(Supplement_1):S5-S10. doi: 10.2337/dc24-SREV.
สิทธิ์ ภคไพบูลย์. ความชุก และปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนทางไตจากโรคเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่โรงพยาบาลปางศิลาทอง จังหวัดกําแพงเพชร. วารสารกรมการแพทย์. 2563; 45(2):12-8.
ดำรงศักดิ์ อบเหลือง, ชนัญญา จิรพรกุล, อมรรัตน์ เพียงเกษ, เนาวรัตน์ มณีนิล, วันเฉลิม รัตนวงษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่ป่วย ด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กับการเกิดโรคไตเรื้อรัง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2565; 8(2):29-41.
ศันสนีย์ เชาวนเกตุ. อุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการลดลงของอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2564;6(3):76-84.
สุขเกษม อมรสุนทร. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารแพทย์ เขต 4-5. 2566; 42(2):211-24.
Kampmann JD, Heaf JG, Mogensen CB, Mickley H, Wolff DL, Brandt F. Prevalence and incidence of chronic kidney disease stage 3-5 - results from KidDiCo. BMC Nephrol. 2023 Jan 19;24(1):17. doi: 10.1186/s12882-023-03056-x.
วัลลภา คงฉันท์มิตรกุล, ทัศนีย์ กาวกระโทก. สถานการณ์การรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในโรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 2564; 7(2):132-46.
Aguiar LK, Prado RR, Gazzinelli A, Malta DC. Factors associated with chronic kidney disease: epidemiological survey of the National Health Survey. Rev Bras Epidemiol. 2020 Jun 5;23:e200044. Portuguese, English. doi: 10.1590/1980-549720200044.
บดินทร์ จักรแก้ว. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเขตกึ่งเมืองของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2565; 18(1):16-30.
เกตุแก้ว จันทร์จำรัส. การสำรวจความชุกและปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะแทรกซ้อนที่ไตในโรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า [วิทยานิพนธ์เทคนิคการแพทยมหาบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
Tótoli C, Carvalho AB, Ammirati AL, Draibe SA, Canziani MEF. Associated factors related to chronic kidney disease progression in elderly patients. PLoS One. 2019 Jul 23;14(7):e0219956. doi: 10.1371/journal.pone.0219956.
รัตนาพร สุวานิช, ลดา เลยหยุด, ปัทมา ล้อพงค์พานิชย์, เจษฎา สุราวรรณ์. ความชุกและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565; 4(2):163-76.
ทวี ศิลารักษ์, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล, วิริณธิ์ กิตติพิชัย. ปัจจัยทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังในโรคเบาหวานในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563; 40(2):109-21.
ดวงรัตน์ ตันรัตนานนท์. ผลลัพธ์ทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยงของระดับการทำงานของไตที่ลดลงในผู้ป่วย ไตเรื้อรังในคลินิกโรคไต. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2552;24(3):55-64.
วสุอนันต์ ทองดี, บรรจง กิตติสว่างวงค์, จินตนา ทองดี, ประสิทธิ์ หมั่นดี. การประเมินการลดลงอัตราการกรองผ่านไตเพื่อการพยากรณ์ความเสี่ยงการเกิดโรคไตเสื่อมเรื้อรัง และการพัฒนา Application Thai CKD Risk Calculation. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 2563;29(2):240-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ประกฎในวารสารศูนย์อนามัยที่ 9 เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน บรรณาธิการ คณะผู้จัดทำ และศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา (เจ้าของ) ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ผลการพิจารณาของกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิถือเป็นที่สิ้นสุด คณะบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขข้อความให้ถูกต้องตามหลักภาษาและมีความเหมาะสม
กองบรรณาธิการวารสารฯ ขอสงวนสิทธิ์มิให้นำเนื้อหาใด ๆ ของบทความ หรือข้อคิดเห็นใด ๆ ของผลการประเมินบทความในวารสารฯ ไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาตจากกองบรรณาธิการ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศูนย์อนามัยที่ 9