ภาวะสุขภาพนักเรียนและรูปแบบการให้บริการอนามัยโรงเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รำไพ หมั่นสระเกษ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กฤตกร หมั่นสระเกษ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • จันทร์เพลิน คิดการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, อนามัยโรงเรียน, นักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางที่ใช้การศึกษาแบบผสมผสานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพนักเรียนและรูปแบบการให้บริการอนามัยโรงเรียน ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,397 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 11 แห่ง โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือเก็บข้อมูลคือ แบบบันทึกสุขภาพนักเรียน แบบการสนทนากลุ่ม แบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และแบบสำรวจสิ่งแวดล้อม เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมกราคม 2567 ถึง มิถุนายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 52.68 อายุระหว่าง 6-12 ปี กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 มากที่สุด ร้อยละ 19.61 2) ภาวะสุขภาพ พบว่า นักเรียนมีปัญหาสุขภาพตามลำดับ ได้แก่ ฟันผุ ร้อยละ 55.33 มีเหา ร้อยละ 19.11 เริ่มอ้วนและอ้วน ร้อยละ 19.04  สายตาผิดปกติ ร้อยละ 16.68 เริ่มผอมและผอม ร้อยละ 12.67 และการได้ยินผิดปกติ ร้อยละ 0.14 และ 3) รูปแบบการให้บริการอนามัยโรงเรียน ประกอบด้วย 1) การประเมินและการคัดกรองสุขภาพ 2) การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การให้คำแนะนำ และการส่งต่อ 3) การให้สุขศึกษา 4) การพัฒนาแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ และ 5) การให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ฟันผุ เหา ภาวะทุพโภชนาการ การมองเห็น และการได้ยินผิดปกติ ยังคงเป็นปัญหาในเด็กวัยเรียน โรงเรียนควรพัฒนาศักยภาพ ครูอนามัย และครูประจำชั้น ให้สามารถตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียน และให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพเบื้องต้นได้ รวมทั้งประสานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและทันตบุคลากรมาตรวจคัดกรองสุขภาพนักเรียนตามเกณฑ์โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

Author Biographies

รำไพ หมั่นสระเกษ, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

อาจารย์

กฤตกร หมั่นสระเกษ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

อาจารย์

จันทร์เพลิน คิดการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขนาย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

References

กองบรรณาธิการ The Active. วิกฤต ‘เด็กไทย’ เกิดน้อย พัฒนาช้า [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 2567 มกราคม 18]. เข้าถึงได้จาก: https://theactive.thaipbs.or.th/news/learning-education-20241117

นพรดา คำชื่นวงศ์. สถานการณ์ปัญหาเด็กและความเปราะบาง – เรารู้อะไรและยังไม่รู้อะไร [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://researchcafe.tsri.or.th/synthesis-of-knowledge-on-social-protections-for-children

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับมาตรฐานสากล ปี พ.ศ. 2565. นนทบุรี: มินนี่ กรุ๊ป; 2565.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดนครราชสีมา กระทรวงศึกษาธิการ. สารสนเทศด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://edustatistics.moe.go.th/population30

จีวรรณ ชงจังหรีด และคณะ. การสำรวจข้อมูลสถานะสุขภาพเด็กนักเรียน เขตสุขภาพที่ 9 ปี พ.ศ. 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://hpc9.anamai.moph.go.th/web-upload/migrated/files/hpc9/n2574_871b6a83da0480b7a2eda683d13fab8f_article_20200114131337.pdf

นพวรรณ เปียซื่อ. การพยาบาลอนามัยชุมชน:นโยบายและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี: ภาพพิมพ์; 2565.

กลุ่มพัฒนาส่งเสริมสุขภาพวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. สรุปผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน ศูนย์อนามัยที่ 9 ปีงบประมาณ 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]. . เข้าถึงได้จาก: https://anyflip.com/oiqes/mufs/basic

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1. สารสนเทศ:ข้อมูลนักเรียน [อินเทอร์เน็ต]. 2568 [เข้าถึงเมื่อ 2566 พฤศจิกายน 20]. เข้าถึงได้จาก: https://www.korat1.go.th/

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี; 2543.

กนิพันธุ์ ปานณรงค์, อัญชลี เหมชะญาติ, ประคองศรี ถนอมนวล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม 2559;12(1):58-67.

ภัสราวดี ศรีสุข, ศิริพร คำสะอาด, นพรัตน์ ลาภส่งผล, ประภัสรา ศิริกาญจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ: การวิเคราะห์พหุระดับ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2567;16(4):75-86.

เจษฎาภรณ์ แสนวัง, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของโรคเหาในเด็กนักเรียนหญิง ระดับประถมศึกษาตอนต้น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564;14(1):80-9.

วัชรพงษ์ เรือนคำ, นงค์รักษ์ สงวนกิจรุ่งนภา, พัชรา ก้อยชูสกุล. แนวปฏิบัติที่ในการป้องกันและควบคุมโรคเหาในโรงเรียนนางแล เชียงราย ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2568 กุมภาพันธ์ 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.journal.nu.ac.th/JCDR/article/download/1294/873

สุภาวดี อรรคพัฒน์. ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ครอบครัว และชุมชน กับภาวะอ้วนของเด็กวัยเรียน เขตพื้นที่การศึกษาที่ 2 จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. ชลบุรี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์. ภาวะสายตาสั้นในเด็ก ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม [อินเทอร์เน็ต]. 2568 [เข้าถึงเมื่อ 2568 กุมภาพันธ์ 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/january-2025/myopia-in-children

สิราภรณ์ เศรษฐบรรจง. งานวิจัยการสำรวจสายตาผิดปกติของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดขอนแก่น. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2565;19(3):189-95.

กัมปนาท คำสุข, บานเย็น ล้านภูเขียว, จริยา เสาเวียง. พฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อภาวะโภชนาการในเด็กนักเรียน โรงเรียนบ้านหนองรังกา จังหวัดนครราชสีมา [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 2568 กุมภาพันธ์ 25]. เข้าถึงได้จาก: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1101.pdf

วีระชัย ตันตินิกร. ความบกพร่องทางการได้ยินในเด็ก [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 2568 กุมภาพันธ์ 25]. เข้าถึงได้จาก: https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/august-2017/children-hearing-problems2567

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-09

How to Cite

หมั่นสระเกษ ร., หมั่นสระเกษ ก., & คิดการ จ. (2025). ภาวะสุขภาพนักเรียนและรูปแบบการให้บริการอนามัยโรงเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 19(2), 673–685. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RHPC9Journal/article/view/274180