ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ ความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยศัลยกรรมสมอง

Main Article Content

สมจิต จันทร์บาง
ศุภร วงศ์วทัญญู
สุภาพ อารีเอื้อ

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรู้ และการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน การศึกษาอบรม และความรู้กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงของพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 203 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมนและเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยรวม ความรู้ด้านการรักษา และด้านการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในระดับปานกลางแต่มีความรู้ด้านกลไกการควบคุมความดันในกะโหลกศีรษะ และด้านการประเมินอาการและอาการแสดงของภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงในระดับน้อย สำหรับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงโดยรวม ด้านการประเมินอาการและอาการแสดงและด้านการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูงอยู่ในระดับมาก และพบว่าความรู้มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศรีษะสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอว่า พยาบาลที่รับผิดชอบในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดสมองทุกคนควรได้รับการศึกษาอบรมเพื่อให้มีความรู้ทางคลินิก ด้านการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรมสมองทั้งนี้เพื่อการประกันคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้


คำสำคัญ: ภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง การปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยศัลยกรรมสมอง

 

Abstract:

This study aimed at investigating: 1) the level of knowledge and nursing practice to prevent increased intracranial pressure among patients with brain surgery and 2) the relationships between the selected factors, including age, educational background, work experiences, training experiences, and knowledge of nurses, and their practice to prevent increased intracranial pressure among patients with brain surgery. The sample comprised of 203 nurses working in the field of neurosurgery. Descriptive statistics, Spearman’s rank, and Pearson’s correlation coefficient were employed for data analysis. The results revealed that the mean score of their overall knowledge for prevention of increased intracranial pressure, treatment, and nursing care to prevent intracranial pressure were at a moderate level, but the level of their knowledge regarding mechanisms to control intracranial pressure, and evaluation of signs and symptoms of intracranial pressure were at a low level. The mean score of overall nursing practice to prevent increased intracranial pressure, nursing practice to evaluate signs and symptoms and nursing practice to prevent increased intracranial pressure were at a high level. However, nurses’ knowledge was related to nursing practice to prevent increased intracranial pressure with statistical significance. According to the findings of this study, it is recommended that nurses who care for patients undergoing brain surgery should be well equipped with clinical knowledge so
that it can ensure high quality care.


Keywords: Increased intracranial pressure, Nursing practice, Patients with brain surgery

Article Details

How to Cite
1.
จันทร์บาง ส, วงศ์วทัญญู ศ, อารีเอื้อ ส. ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะ ความดันในกะโหลกศีรษะสูงในผู้ป่วยศัลยกรรมสมอง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jan. 17 [cited 2024 May 2];19(2):264-76. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/15590
Section
บทความวิจัย