ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังต่อความผาสุกทางใจและคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย

Main Article Content

มลฤดี เกษเพชร
สุปรีดา มั่นคง
ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างพลังสำหรับญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย โดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังของมิลเลอร์
ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายที่มารับการรักษาที่หน่วยผู้ป่วยนอกศัลยกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ.2554-มีนาคม พ.ศ.2555 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 28 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลองคือ โปรแกรมเสริมสร้างพลังในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของญาติผู้ดูแลและผู้ป่วย แบบวัดการรับรู้ความผาสุกทางใจ และ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลัง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติบรรยาย การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความผาสุกทางใจหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) คะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตโดยรวมหลังเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมความผาสุกทางใจและคุณภาพชีวิตแก่ญาติผู้ดูแล และช่วยพัฒนาการบริการสุขภาพให้มี
คุณภาพยิ่งขึ้น


คำสำคัญ: การเสริมสร้างพลัง ญาติผู้ดูแล ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย ความผาสุกทางใจคุณภาพชีวิต

 

Abstract:

This quasi-experimental research aimed to investigate the effects of an empowerment-based program on psychological well-being and quality of life among family caregivers of patients with advanced breast cancer. The conceptual framework was derived from the concept of sources of empowerment proposed by Miller and a review of literature. The subjects were 28 caregivers of patients with advanced breast cancer who sought treatment at the outpatient surgical unit at Ramathibodi Hospital between September 2011 and March 2012. Purposive sampling was used to recruit the sample. The research instruments composed of an empowerment-based program,and data collection instruments, including caregivers’ and patients’ demographic characteristics questionnaires, the psychological well-being scale, and the WHOQOL– BREF–THAI questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Wilcoxon test, and t-test. The findings revealed that 1) the mean score of perceived psychological well-being of caregivers of patients with advanced breast cancer obtained after participating in the empowerment-based program was higher than that obtained before participating in the program with statistical significance, and 2) the mean score of overall quality of life of caregivers of patients with advanced breast cancer after participating in the empowerment-based program were higher than that obtained before participating in the program with statistical significance. The research findings can be utilized simultaneously to promote psychological well-being and quality of life of caregivers of patients with advanced breast cancer and to further develop and enhance the quality of healthcare services.

 

Keywords: Empowerment, Caregivers, Patients with advanced breast cancer, Psychological well-being, Quality of life

Article Details

How to Cite
1.
เกษเพชร ม, มั่นคง ส, ศิรโพธิ์งาม ย. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังต่อความผาสุกทางใจและคุณภาพชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jan. 17 [cited 2024 Dec. 23];19(2):277-90. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/15591
Section
บทความวิจัย