การทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบเรื่องการนวดปากเพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด

Main Article Content

สุธาสินี แซ่หุง
ทิพวัลย์ ดารามาศ
เรณู พุกบุญมี

Abstract

บทคัดย่อ:

การนวดปากเพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด เป็นวิธีการที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการดูดกลืนแข็งแรง ทำให้การดูด การกลืน และการหายใจของทารกมีความสัมพันธ์กัน ทารกจึงมีการดูดกลืนดีขึ้น สามารถดูดนมได้เร็วและมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์หลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการนวดปากเพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด โดยการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศ และต่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999-2009 เอกสารงานวิจัยที่นำมาประเมินคุณภาพมีจำนวน 9 เรื่อง เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์จากงานวิจัยประเภทการทดลองที่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 7 เรื่อง และงานวิจัยเชิงทดลองที่ไม่มีการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า การนวดปากเพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด มีทั้งหมด 7 วิธี เป็นการนวดด้วยนิ้วมือบริเวณรอบปากและภายในปากของทารก ซึ่งมีผลลัพธ์ทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อในช่องปากดีขึ้น มีการดูดกลืนดีขึ้น ระยะเวลาในการหัดดูดนมลดลง จำนวนวันนอนโรงพยาบาลลดลง และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น พยาบาลสามารถนำความรู้ที่ได้จากการทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการนวดปาก
เพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนดไปปฏิบัติจริงในคลินิก เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด และส่งเสริมให้ทารกดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ


คำสำคัญ: การทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ การนวดปาก การดูด การกลืน ทารกเกิดก่อนกำหนด

 

Abstract:

Oral stimulation in preterm infants is a way to help improve oral muscle strength and increase coordination between sucking, swallowing, and respiration resulting in better sucking and swallowing, earlier transition to oral feeding, and improve feeding performance. The purpose of this systematic review was to synthesize the evidence-based practice in oral stimulation in preterm infants by searching research both in Thailand and foreign countries from the years 1999-2009. There were 9 studies selected for quality assessment: 7 providing evidence in randomized controlled trials, and 2 providing evidence in quasi-experimental design or non-randomized controlled trials. The review found that there were seven methods used for oral stimulation in preterm infants by massage with fingers around the mouth and inside the mouth of preterm infants. The outcomes are good oral motor function, better sucking and
swallowing, reduced transition period, decreased length of hospital stay and higher rate of breast feeding. Knowledge from this systematic review can be used to improve feeding performance in preterm infants and can be applied to enhance the quality of care.

Keywords: A systematic review, Oral stimulation, Sucking, Swallowing, Preterm infants

Article Details

How to Cite
1.
แซ่หุง ส, ดารามาศ ท, พุกบุญมี เ. การทบทวนองค์ความรู้อย่างเป็นระบบเรื่องการนวดปากเพื่อกระตุ้นการดูดกลืนในทารกเกิดก่อนกำหนด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 17 [cited 2024 May 3];19(3):293-307. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/18816
Section
บทความทบทวนวรรณกรรม