ผลของการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดา ต่อการตอบสนอง ความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด

Main Article Content

สิรวี อินหรุ่น
ทิพวัลย์ ดารามาศ
เรณู พุกบุญมี

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยนํ้านมมารดา ต่อการตอบสนองความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างอายุครรภ์ 37-42 สัปดาห์ มีอายุตั้งแต่ 48 ชั่วโมงหลังคลอด จากหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ สุ่มตัวอย่างทารกเข้ากลุ่มทดลอง 25 ราย ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยนํ้านมมารดาก่อนเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า 1 นาที และกลุ่มควบคุม 25 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ โดยใช้แบบประเมินปฏิกิริยาการตอบสนองด้านพฤติกรรม เครื่องพัลส์ออกซิมิเตอร์วัดความอิ่มตัวของออกซิเจนและอัตราการเต้นของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U test และ Independent t-test ผลการศึกษาพบว่า ทารกที่ได้รับการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยนํ้านมมารดา มีคะแนนความเจ็บปวดระยะเจาะเลือด และระยะหลังการเจาะเลือดนาทีที่ 6 และ 7 ตํ่ากว่าทารกที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอัตราการเต้นของหัวใจขณะเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า และทุกช่วงเวลาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในหลอดเลือดแดงระยะหลังเจาะเลือดนาทีที่ 6, 7, และ 8 สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการบรรเทาความเจ็บปวดร่วมกับการบรรเทาความเจ็บปวดวิธีอื่นๆ จากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


คำสำคัญ: การกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่น น้ำนมมารดา การตอบสนองความเจ็บปวด
การเจาะเลือดบริเวณส้นเท้า ทารกแรกเกิดครบกำหนด

 

Abstract: This study was a true experimental design aimed at exploring the effects of olfactory receptor with breast milk on pain response to heel stick in full term infants. The sample group was full term newborns with gestational ages of 37-42 weeks and postpartum ages of 48 hours and up from the Neonatal Patient Ward, Charoenkrung Pracharak Hospital. All subjects were randomly assigned to an experimental group
(n = 25) or a control group (n = 25). An experimental group received olfactory stimulation with breast milk during 1 minute before the heel stick and the other received routine heel stick only. Pain was assessed with the behavioral response assessment scale. Oxygen saturation and heart rate were measured with a pulse oximeter. The researcher analyzed data with the Mann-Whitney U test and Independent t-test statistics.
The research findings revealed infants receiving olfactory stimulation with breast milk to have lower pain scores during heel stick and after heel stick at minutes 6 and 7 than the group receiving routine heel stick with statistical significance. The heart rates of them were no difference with statistical significance at every interval, and the oxygen saturation of the group receiving stimulation after heel stick at minutes 6, 7, and 8 were higher than that of the group receiving normal heel stick only with statistical significance. Thus, olfactory stimulation with breast milk can be used with other pain relief methods in order to relieve heel stick pain response for better effectiveness.


Keywords: Olfactory stimulation, Breast milk, Pain response, Heel stick, Full term infant

Article Details

How to Cite
1.
อินหรุ่น ส, ดารามาศ ท, พุกบุญมี เ. ผลของการกระตุ้นประสาทสัมผัสการรับกลิ่นด้วยน้ำนมมารดา ต่อการตอบสนอง ความเจ็บปวดจากการเจาะเลือดบริเวณส้นเท้าในทารกแรกเกิดครบกำหนด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 17 [cited 2024 May 4];19(3):320-32. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/18826
Section
บทความวิจัย