ระดับความปวดขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

Main Article Content

ศิวพล ศรีแก้ว
กุสุมา คุววัฒนสัมฤทธิ์
สุปรีดา มั่นคง
สุชาต ไชยโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความปวดขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกโดยวิธีใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกการหายใจและวิธีไอเพื่อขับเสมหะในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความปวดโดยใช้มาตรวัดความปวดชนิดเป็นตัวเลข ผลการศึกษาพบว่า ในวันที่ 1-3 หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีคะแนนความปวดเฉลี่ยก่อนทำกายภาพบำบัดทรวงอกอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง คะแนนความปวดเฉลี่ยขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกโดยวิธีใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกการหายใจอยู่ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และคะแนนความปวดเฉลี่ยขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกโดยวิธีไอเพื่อขับเสมหะอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดก่อนทำกายภาพบำบัดทรวงอกทั้ง 2 วิธี พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 วันหลังผ่าตัด คะแนนความปวดขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกสูงกว่าก่อนทำกายภาพบำบัดทรวงอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 วันหลังผ่าตัด และคะแนนความปวดขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกโดยวิธีไอเพื่อขับเสมหะมากกว่าคะแนนความปวดเมื่อใช้อุปกรณ์ช่วยฝึกการหายใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้ง 3 วันหลังผ่าตัด ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดปวดมากขึ้นขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอก อย่างไรก็ตามการทำกายภาพบำบัดทรวงอกหลังผ่าตัดหัวใจเป็นสิ่งจำเป็นและมีประโยชน์ ดังนั้น การจัดการความปวดอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มนี้


คำสำคัญ: ความปวด การทำกายภาพบำบัดทรวงอก อุปกรณ์ช่วยฝึกการหายใจ การไอ การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

 

Abstract:

The purpose of the study was to examine the severity of pain during chest physical therapy using the incentive spirometer device and cough assistance during postoperative open-heart surgery. Purposive sampling was used to recruit a sample of 40 patients. The research instruments were personal characteristics data and pain assessment using the Numeric Rating Scale. Pain was assessed from the first day to the third day after surgery. The results showed that pain mean scores on the first to the third days after surgery before chest physical therapy were mild to moderate. Pain mean scores during chest physical therapy training methods using the incentive spirometer device were mild to moderate. Pain mean scores during chest physical therapy training methods using cough assistance were moderate to severe. There were no statistically significant differences between pain scores before chest physical therapy training methods using the incentive spirometer device and those using cough assistance. Pain scores during chest physical therapy training methods were statistically higher than before chest physical therapy. Pain scores from cough assistance were higher than using the incentive spirometer device with statistical significance. In conclusion, the results of this study showed that pain during chest physical therapy in patients with open heart surgery increased. However, chest physical therapy is very important and pain management in these patients must be managed effectively.


Keywords: Pain, Chest physical therapy, Incentive spirometer device, Cough assistance, Open heart surgery

Article Details

How to Cite
1.
ศรีแก้ว ศ, คุววัฒนสัมฤทธิ์ ก, มั่นคง ส, ไชยโรจน์ ส. ระดับความปวดขณะทำกายภาพบำบัดทรวงอกในผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 17 [cited 2024 Dec. 22];19(3):333-48. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/18833
Section
บทความวิจัย