ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล

Main Article Content

วิภาวี ปุสวิโร
พรทิพย์ มาลาธรรม
ศุภร วงศ์วทัญญู
อรพิชญา ไกรฤทธิ์
มุกดา เดชประพนธ์

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล โดยใช้แนวคิดภาวะสุขภาพขององค์การอนามัยโลกและการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพและการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดได้กลุ่มตัวอย่าง 140 ราย เป็นเพศชาย 123 ราย เพศหญิง 17 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 60-84 ปี อายุเฉลี่ย 66 ปี ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติแต่เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง(prehypertension) มากที่สุดคือ ร้อยละ 41 เกือบครึ่ง (ร้อยละ 45.8) มีอัตราการเต้นของหัวใจขณะพักอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.4) มีดัชนีมวลกายอยู่ในระดับปกติ และแรงเหยียดขาอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 70.7) 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างมีความอ่อนตัวอยู่ในระดับปานกลาง เกือบครึ่งหนึ่งมีความจุปอดอยู่ในระดับดีมาก ส่วนปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.6) อยู่ในระดับดีมาก และค่าความหนาแน่นของมวลกระดูกอยู่ในภาวะกระดูกโปร่งบางมากที่สุด (ร้อยละ 40.7) ในด้านการรับรู้ความผาสุกในชีวิตปัจจุบันที่วัดโดยแบบวัดแบบขั้นบันไดของแคนทริล พบว่าเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับดี และมากกว่าครึ่งรับรู้ว่าภาวะสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับดี ผลการศึกษาครั้งนี้จะทำให้บุคลากรด้านสุขภาพเข้าใจภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล และใช้ข้อมูลนี้เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุออกกำลังกายอย่างเต็มศักยภาพ โดยเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุแต่ละราย


คำสำคัญ: ภาวะสุขภาพ แรงเหยียดขา ปริมาณการใช้ออกซิเจนสูงสุด ผู้สูงอายุ นักวิ่งระยะไกล

 

Abstract:

This descriptive study aimed to investigate health status of older long-distance runners. The concept of health by the World Health Organization and a review of literature on health and exercise of older persons were used as the conceptual framework. The sample consisted of 140 older long-distance runners in Bangkok, Thailand, including 123 men and 17 women, who were recruited by purposive sampling. Data were analyzed using descriptive statistics. The findings revealed that the sample aged between 60 and 84 years, with a mean age of 66 years. The blood pressure was most found as prehypertension (41%). Almost half of the sample (45.8%) had an excellent resting heart rate; about three quarters (76.4%) had a normal body mass index, and 70.7% had excellent leg strength. Also, one-third had a moderate level of body flexibility; almost half had excellent lung capacity; 63.6% had excellent maximal oxygen consumption, and 40.7% had osteopenia. As regards perceived well-being of presentday life assessed using Cantril’s Self-Anchoring Ladder Scale, nearly one-third of the sample were at a high level, 8 out of 10, with a mean of 7.64. That is, they had a positive perspective on their current life situation. Finally, more than half of the sample had a good level of perceived health status. The findings of this study shed light on the health status of older long-distance runners, which can be used as baseline data by healthcare personnel to promote physical exercise among older persons to achieve their optimal health with their health status taken into careful consideration.

Keywords: Health status, Leg strength, Maximal oxygen consumption, Older adults, Long-distance runners

Article Details

How to Cite
1.
ปุสวิโร ว, มาลาธรรม พ, วงศ์วทัญญู ศ, ไกรฤทธิ์ อ, เดชประพนธ์ ม. ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นนักวิ่งระยะไกล. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 17 [cited 2024 May 3];19(3):382-99. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/18843
Section
บทความวิจัย