ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลต่อการเรียนการสอนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติในห้องคลอด
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และอาจารย์พยาบาลผู้สอนในวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ ต่อการฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ในห้องปฏิบัติการก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติบนห้องคลอด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลจำนวน 101 ราย และอาจารย์พยาบาลจำนวน 6 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลที่มีต่อการแนะนำการเรียนการสอนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลต่อการเรียนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ในภาพรวม และแบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลที่มีต่อการเรียนการสอนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ เก็บข้อมูลภายหลังเสร็จสิ้นการขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยห้องคลอดแล้ว ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการเรียนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์มีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริงในระดับมากถึงมากที่สุด ยกเว้นอุปกรณ์ที่ใช้ ได้แก่ การตรวจภายในทางช่องคลอดที่นักศึกษาเห็นควรให้ปรับปรุง อาจารย์พยาบาลมีความคิดเห็นว่าการสอนในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ ์ ช่วยในการเตรียมนักศึกษาจากภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ แต่นักศึกษาควรมีเวลาฝึกหัตถการต่างๆ ในห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ให้มากกว่านี้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานให้แก่ผู้บริหารและอาจารย์ผู้จัดห้องฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ในการจัดห้องเรียนเสมือนจริงให้แก่นักศึกษาก่อนที่จะขึ้นปฏิบัติกับผู้คลอดบนหอผู้ป่วย โดยมีสถานการณ์จำลองและเครื่องมือใกล้เคียงกับในห้องคลอดมากที่สุดและมีการบริหารจัดการให้นักศึกษาสามารถมาฝึกทักษะฯ นอกเวลาได้ เพื่อให้นักศึกษามีความมั่นใจในการฝึกปฏิบัติจริงบนห้องคลอด
คำสำคัญ: การฝึกปฏิบัติทักษะทางการผดุงครรภ์ การเรียนการสอน นักศึกษาพยาบาล
อาจารย์พยาบาล ห้องคลอด
Abstract:
This descriptive study aimed to determine the perceptions of nursing students and instructors of Midwifery Practicum course on the midwifery clinical skill laboratory practice before undergoing to labour ward. The sample were 101 nursing students and 6 nursing instructors. The perceptions of learning and teaching in midwifery clinical skill laboratory were assessed using the nursing students’ and instructors’ perceptions questionnaire of learning and teaching respectively. Additionally, the perceptions of nursing students and instructors were also examined by using semi-structured interviews at the end of midwifery practice. The results of the study showed that most of nursing students valued the benefits and application of midwifery’ clinical skill laboratory practice. Although some instruments such as vaginal examination models must be improved because of their qualities. The midwifery clinical skill laboratory practice was seen by the instructors as a learning environment that supports the linkage of theory and practice.However, students should practice more in the midwifery clinical skill laboratory. The finding from this study can be used as evidence for administrators and nurse instructors for developing and improving scenarios, instruments, teaching strategies and the management of midwifery clinical skill laboratory to improve students’ confidence in clinical practice.
Keywords: Midwifery clinical skill practice, Learning and teaching, Nursing students, Nursing instructors, Labour room
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น