ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน

Main Article Content

ภาวิณี พรหมบุตร
นพวรรณ เปียซื่อ
สมนึก สกุลหงส์โสภณ

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบุคคล ระหว่างบุคคล สังคมและวัฒนธรรมกับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านกลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนในจังหวัด
ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 199 ราย เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติสหสัมพันธ์ แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ตัวอย่างญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 82.4) อายุเฉลี่ย 51.61 ± 14.43 ปี สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 78.89) จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา (ร้อยละ 67.89) มีรายได้ตำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน (ร้อยละ 59.30) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 62.81) และนับถือศาสนาพุทธทุกราย ญาติผู้ดูแลมีการรับรู้สมรรถนะตนเองอยู่ในระดับมาก สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ดูแล และครอบครัวอยู่ในระดับดี มีความเชื่อเกี่ยวกับบาปบุญอยู่ในระดับมาก รวมทั้งผู้ป่วยมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันอยู่ในระดับมาก ในขณะที่แรงสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และญาติผู้ดูแลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.92) มีความเครียดอยู่ใน
ระดับตำ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางลบกับการรับรู้
สมรรถนะตนเองของญาติผู้ดูแล ความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย
สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วย ญาติผู้ดูแล และครอบครัว และแรงสนับสนุนทางสังคมจาก
ครอบครัว ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการให้การดูแล
ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีความสามารถในการ
ประกอบกิจวัตรประจำวันน้อย โดยประเมินความเครียด การรับรู้สมรรถนะตนเองของญาติ
ผู้ดูแล รวมทั้งส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวและแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว
ของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง


คำสำคัญ: ความเครียด ญาติผู้ดูแลที่บ้าน โรคหลอดเลือดสมอง ระบบนิเวศวิทยา

Article Details

How to Cite
1.
พรหมบุตร ภ, เปียซื่อ น, สกุลหงส์โสภณ ส. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 23];20(1):82-96. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/19198
Section
บทความวิจัย