ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความสมดุลพลังงานของร่างกายต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและสัดส่วนของร่างกายในผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองและสัดส่วนของร่างกายระหว่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสมดุลพลังงานของร่างกาย
โดยใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก จำนวน 63 ราย อาศัยอยู่ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความสมดุลพลังงานของร่างกายประกอบด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ สำรวจภาวะสุขภาพ การให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการเมตาบอลิกวางแผนและตั้งเป้าหมาย ให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารและการออกกำลังกาย และการติดตามทางโทรศัพท์เพื่อกระตุ้นเตือนและให้กำลังใจ รวมระยะเวลา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลพฤติกรรมการดูแลตนเองและสัดส่วนของร่างกายในสัปดาห์ที่ 1, 8, และ 12 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและความแปรปรวนแบบวัดซ้ำทางเดียว (one way repeated measures analysis of variance) ผลการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิกมีเส้นรอบเอวลดลงเมื่อสิ้นสุดโปรแกรมการส่งเสริมความสมดุลพลังงานของร่างกาย และลดลงต่อเนื่องแม้สิ้นสุดโปรแกรมไปแล้ว 4 สัปดาห์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร น้ำหนักตัว และค่าดัชนีมวลกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมแต่มีแนวโน้มว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายกลับมาใกล้เคียงกับก่อนได้รับโปรแกรม ดังนั้นในการจัดโปรแกรมควรมีระยะเวลาของการกระตุ้นเตือนอย่างต่อเนื่อง
และจำนวนครั้งมากขึ้น
คำสำคัญ: โปรแกรมส่งเสริมความสมดุลพลังงานของร่างกาย ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นกลุ่มอาการเมตาบอลิก พฤติกรรมการดูแลตนเอง สัดส่วนของร่างกาย
Abstract:
The purpose of this study was to compare self-care behavior and body composition of women at risk of metabolic syndrome before and after receiving an energy balance promoting program. Orem’s self- care theory provided the theoretical framework of this study. Sixty-three women who lived in KamphaengSaen District, NaknonPathom Province were purposively selected into the study. Data was collected from February, 2011 to May, 2011. The program was for 8 weeks, including a workshop to teach the participants about metabolic syndrome, training in the selection of food, using a handbook,
suggesting about moderate intensity exercise and planning individual goal setting for energy balance. After the 8 weeks of the program, the participant was remotivated by telephone 1 time/week for 4 times. On the 1st week of the program the data about eating, exercise /physical activity behavior, and body compositions, were collected then followed up two times a 8th and 12th week. Descriptive statistics and one way repeated
measures analysis of variance were used to analyze the data. The result revealed that waist circumference was significantly lower than before the program. Eating behavior, body weight, and body mass index were significantly changed in a suitable way. Exercise behavior was significantly higher than before entering into the program but in the 8th and 12th week of the program this behavior was less likely to be maintained for a long time; therefore the frequency of the program for motivation should be done intensively and continuously.
Keywords: An energy balance program, Women at risk of metabolic syndrome, self-care behavior, body compositions
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น