ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง

Main Article Content

วันวิสาข์ บัวลอย
มณีรัตน ธีระวิวัฒน์

Abstract

บทคัดย่อ:

การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อ
ป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 54 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 29 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ 25 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาพัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิดการพัฒนาทักษะชีวิต ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตรปกติของโรงเรียน ระยะเวลาในการทดลองใช้เวลา 12 สัปดาห์ เก็บข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองก่อนและหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน independent t-test และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง
กลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตนเรื่องการมีพฤติกรรมเสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์
ความสามารถด้านการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ความสามารถด้านการสื่อสารเพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ทั้งสองกลุ่มมีพฤติกรรมป้องกันสถานการณ์เสี่ยงที่นำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์มีประสิทธิผลทำให้กลุ่มทดลองมีการตระหนักรู้ในตน การคิดและการตัดสินใจรวมทั้งมีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศที่ดีขึ้น ดังนั้น สถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาอาจนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่นักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีการตระหนักรู้เรื่องเพศที่ถูกต้อง ส่งเสริมให้เกิดการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์


คำสำคัญ: โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษา พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ นักเรียน
มัธยมศึกษา การตระหนักรู้เรื่องเพศ

Article Details

How to Cite
1.
บัวลอย ว, ธีระวิวัฒน์ ม. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2014 Jun. 30 [cited 2024 Dec. 23];20(1):127-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/19202
Section
บทความวิจัย