Perception of Symptom Burden, Financial Burden, and Quality of Life in Patients with End Stage Renal Disease Undergoing Hemodialysis
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความทุกข์ทรมานจากอาการ ภาระค่าใช้จ่ายและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความทุกข์ทรมานจากอาการกับคุณภาพชีวิต และการรับรู้ภาระค่าใช้จ่ายกับคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โดยใช้กรอบแนวคิดของเฟอร์แรนส์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มตามความสะดวกที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยไตเทียมโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์เดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม 2558 จำนวน 101 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกอาการ แบบสอบถามภาระค่าใช้จ่าย แบบสอบถามคุณภาพชีวิต EQ-5D และ SF-36 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson's Product-Moment Correlation ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตต่ำกว่าประชากรไทยทั่วไป มีการรับรู้ว่าค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นภาระในระดับปานกลาง และพบว่าการรับรู้ภาระค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต EQ-5D ในระดับปานกลาง (r = - .36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนอาการที่พบบ่อยที่สุดคือ ผิวแห้ง อาการที่มีความทุกข์ทรมานส่งผลรุนแรงมากที่สุดคือ เจ็บเส้นฟอกเลือด โดยพบว่าความทุกข์ทรมานจากอาการมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิต SF-36 ระดับสูงทั้งในคุณภาพชีวิตโดยรวม (r = - .54) และมิติด้านร่างกาย (r = - .59) มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางในมิติด้านจิตใจ (r = - .39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการประเมินผู้ป่วยทั้งในด้านความทุกข์ทรมานจากอาการ และภาระค่าใช้จ่ายซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการนำมาวางแผนการช่วยเหลือจัดหาแหล่งประโยชน์ และบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการของผู้ป่วยที่เป็นทั้งบทบาทอิสระของพยาบาลที่สามารถจัดการได้โดยตรง และบทบาทร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
Perception of Symptom Burden, Financial Burden, and Quality of Life in Patients with End Stage Renal Disease Undergoing Hemodialysis
This descriptive correlational study aimed to explore symptom burdens, financial burdens, and quality of life and its relationships in patients with ESRD undergoing hemodialysis. The conceptual framework was derived from Ferran's QOL conceptual model. The 101 samples were conveniently recruited from patients undergoing hemodialysis at the Ramathibodi Hospital and the Bhumirajanagarindra Kidney Institute Hospital from May to August 2015. Research instruments in this study were: Personal Data Questionnaire, Dialysis Symptom Index, Financial Burden Survey, SF-36, and EQ-5D. Descriptive statistics and Pearson’s Product- Moment Correlation Coefficient were used to analyze the data. The results revealed that ESRD patients undergoing hemodialysis had a lower QoL than the general Thai population and a moderate perception of the financial burden. The financial burden had a significant and moderate negative relationship with EQ-5D QoL (r = -.36). Dry skin was the most frequent symptom, while intradialytic vascular access pain was reported the most severe symptom. Symptom burden had a significant and strong negative relationship with physical domain, and overall SF-36 QoL (r = - .597, r = - .542 respectively), and moderate negative relationship with mental domain (r = - .398). The study findings could be applied to the patient assessment interms of symptom burden and financial burden for further comprehensive management. This is important information which could take into nursing care plan to relieve the patient’s symptoms, provide comprehensive information including, resource and health insurance to decrease financial burden which is both independent role of nurses or together with a multidisciplinary team in determining the appropriate medication or other treatments for further comprehensive management which could enhance QoL in this population.
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น