Effects of a Self-Insulin Administration Promoting Program among Persons with Diabetes in Golden Jubilee Medical Center, Nakhon Pathom Province
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองในผู้ป่วยเบาหวาน ต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้เกี่ยวกับการฉีดอินซูลิน การรับรู้ความสามารถของตนเองในการฉีดอินซูลิน ความคาดหวังผลดีของการฉีดอินซูลินที่ถูกต้อง และพฤติกรรมการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานของศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก จังหวัดนครปฐม ที่แพทย์มีคำสั่งการรักษาให้ฉีดอินซูลินเป็นครั้งแรกจำนวน 22 ราย กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง จัดกิจกรรม 7 ครั้งต่อเนื่องรวม 4 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกและการตรวจตำแหน่งฉีดยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired samples t-test, Wilcoxon signed ranks test และ one samples t-test ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลองผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการฉีดอินซูลิน การรับรู้ความสามารถตนเองในการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง และความคาดหวังในผลดีของการฉีดอินซูลินที่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .004) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฉีดอินซูลินด้วยตนเองหลังการทดลองกับค่าคะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .002) สำหรับพฤติกรรมป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดอินซูลินนั้น ผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างสามารถแก้ไขปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ถูกต้อง และตรวจไม่พบการสะสมของยาในตำแหน่งที่ฉีด ดังนั้นศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และสถานบริการสุขภาพที่มีบริบทใกล้เคียงกัน สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ในระบบบริการได้ ในการวิจัยครั้งต่อไปเพื่อพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นควรมีการประยุกต์แนวคิดแรงสนับสนุนทางสังคมเฉพาะอย่างยิ่งจากครอบครัวร่วมด้วย
Promoting Program for Self-Insulin Injection in Patients with Diabetes of Golden Jubilee Medical Center, Nakhon Pathom
Abstract: This quasi-experimental research aimed to study the effect of a promotion program for self-insulin injection in patients with diabetes. To change knowledge about insulin injection, perceived self-efficacy to do insulin injection, outcome-expectation of the benefits from correct self- insulin injection, and self- insulin injection behavior. The samples were 22 diabetic patients in Golden Jubilee Medical Center, Nakornpathom Province who had been prescribed by medical doctors to get self-insulin injection for the first time. A One-Group Pretest-Posttest design was employed. Self-Efficacy theory was applied to develop a health education program composing of 7 consecutive sessions and the program lasted for 4 weeks. Data collection was done by using: interviewing schedule, recording form, and checking the injection site. Data analysis was done by computing frequency, percentage, mean, standard deviation, Paired samples t-test, Wilcoxon signed ranks test and One sample t-test. After the experimentation, the experimental group had significantly higher level of knowledge about insulin injection, perceived self-efficacy to do insulin injection and outcome-expectation of insulin injection (p< .001), and significantly higher level of self-insulin injection behavior mean score (p= .004). After the comparison of self-insulin injection behavior mean score measured after the experimentation and the criteria mean score was made significant difference was found (p= .002). In regard to complication prevention behavior from insulin injection, the sampled patients could cope with hypoglycemia satisfactorily and no coagulated insulin was found at the injection sites. Thus, the Golden Jubilee Medical Center and other similar health service organizations/centers should utilized this type of program. For furthering research, in order to increase the effectiveness of the program, the application of social support concept should be added, especially support from family.
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น