ผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการสร้างเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ

Main Article Content

อรวรรณ แผนคง
สุนทรีย์ คำเพ็ง

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการ สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุ 60 คน และ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 60 คน ที่อาศัยอยู่ ณ อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ดำเนินการวิจัยร่วมกับ นักวิจัยท้องถิ่นโดยการระดมความคิดเห็นจากชุมชน ร่วมค้นหาปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมสร้างเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุ ร่วมวางแผนการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ดำเนิน กิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพทั้งสิ้น 3 กิจกรรม และประเมินโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลการ วิจัยก่อนและหลังการเขาร่วมโปรแกรม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถาม พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และแบบวัดความพึงพอใจในการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูง กว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีคะแนนเฉลี่ย ความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมภายหลังภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วม โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยใช้ชุมชน เป็นฐานจากการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพของ ผู้สูงอายุใน ชุมชนได้ โดยมุ่งเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลัก สิ่งที่สำคัญคือ การประสานงาน และการสนับสนุนให้ผู้แทนของชุมชนมีส่วนร่วมตลอดโครงการ

คำสำคัญ : การสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, การมีส่วนร่วม, พฤติกรรมการสร้างเสริม สุขภาพ, ความพึงพอใจ, ผู้สูงอายุ, ผู้ดูแล

 

Abstract

The purpose of this study was to investigate the effect of a community-based health promotion program approach on the health promoting behavior and satisfaction with participation of older persons. The participants consisted of 60 pairs of older persons and their caregivers in Donput Community, Saraburi Province, Thailand. The participatory action research method, including community meeting for brainstorming, problem solving, project planning, and evaluation, was used to obtain the data. Data were collected using the Health-Promoting Behavior Questionnaire, and the Satisfaction with Participation Questionnaire before and after the program had begun. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The major results revealed that: 1) after the program finished, older persons had a significantly higher mean score of health-promoting behavior than before the program began; and 2) after the program finished, caregivers of older persons had a significantly higher mean score of satisfaction with participation than before the program began. The community-based health promotion program could be applied to promote health of older persons in other communities. The key is the process of community involvement, which encourages coordination and participation of the representatives of the community continually.

Keywords : Community-based health promotion program, Participation, Health-promoting behavior, Satisfaction, Older persons, Caregivers

Article Details

How to Cite
1.
แผนคง อ, คำเพ็ง ส. ผลของการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ชุมชนเป็นฐานต่อพฤติกรรมการสร้างเสริม สุขภาพของผู้สูงอายุและความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลผู้สูงอายุ. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Apr. 28];16(1):1-13. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8885
Section
บทความวิชาการ