ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนชนบททางภาคใต้

Main Article Content

วันทนีย์ ชัยฤทธิ์
นพวรรณ เปียซื่อ
สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นคงทางอาหาร และความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัวและสังคมกับความมั่นคง ทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนชนบททางภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 194 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากแบบสอบถาม การประเมินภาวะโภชนาการด้วยดัชนีมวลกายและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายไคสแควร์ และสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาความมั่นคงทางอาหารมีค่อนข้างน้อย ร้อยละ 6.7 เมื่อวิเคราะห์รายมิติพบปัญหาด้าน คุณภาพอาหารมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความปลอดภัยของอาหาร และปริมาณอาหารตาม ลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ภาวะสุขภาพ รายได้ของครอบครัว และแรงสนับสนุน ทางสังคมมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปัญหาความมั่นคงทางอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการ ศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารของ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีรายได้ครอบครัวน้อย และการสนับสนุนทางสังคมน้อย

คำสำคัญ: ความมั่นคงทางอาหาร ผู้สูงอายุ ชุมชนชนบท

 

Abstract

This correlational study aimed to examine food security and investigated correlations between personal, family, social factors, and food security among older adults living in a rural community, Southern Thailand. The sample included 194 older adults aged 60 years and over. Through purposive sampling, the sample was selected according to inclusion criteria. Data were collected by interview from questionnaires and nutritional assessment using body mass index and hand grip strength. Data were analyzed using descriptive statistics, chi-square test, and Spearman rank correlations. Results revealed that only a small proportion of older adults (6.7%) had problems with food security. Subscale analysis found that food quality was at the highest level, followed by food safety and food quantity, respectively. Correlational analysis reported that health status, family income, and social support were negatively associated with food security problem. Results suggested that community nurse practitioners should promote food security for older adults particularly for those with health problems, low family income, and social support.

Keywords: Food security, Older adults, Rural community

Article Details

How to Cite
1.
ชัยฤทธิ์ ว, เปียซื่อ น, มารุโอ สจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของผู้สูงอายุในชุมชนชนบททางภาคใต้. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 5 [cited 2024 Dec. 23];18(3):311-26. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8887
Section
บทความวิจัย