คุณภาพการนอนหลับในผู้ที่เป็นมะเร็ง

Main Article Content

ซู้หงษ์ ดีเสมอ
แสงทอง ธีระทองคำ

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้กล่าวถึงคุณภาพการนอนหลับในผู้ที่เป็นมะเร็ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อธิบายเกี่ยวกับความหมายและระดับของการนอนหลับ คุณภาพการนอนหลับ สาเหตุและปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ ความผิดปกติของการนอนหลับ ผลกระทบของการนอนหลับ ที่ไม่มีคุณภาพ และแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับโดยไม่ใช้ยาในผู้ที่เป็นมะเร็ง จาก การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง การนอนหลับเป็นกระบวนการของสมองที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ภายในและภายนอกลดลง ทำให้เกิดการนอนหลับชนิดไม่มีการกลอกของลูกตาอย่างรวดเร็ว และ การนอนหลับชนิดมีการกลอกของลูกตาอย่างรวดเร็ว หากบุคคลมีคุณภาพการนอนหลับที่ไม่ดี ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยนำ ปัจจัยกระตุ้น และปัจจัยสนับสนุนให้การนอนไม่หลับคงอยู่ จะส่งผลกระทบ ต่อร่างกาย จิตใจ และคุณภาพชีวิต ดังนั้น การส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับโดยไม่ใช้ยาของผู้ที่ เป็นมะเร็ง โดยการลดปัจจัยกระตุ้นการนอนไม่หลับ และการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม เกี่ยวกับการนอนที่ถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญ แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับโดยไม่ใช้ยา เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ที่เป็นมะเร็งมีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ส่งผลให้ส่งเสริมการฟื้นฟูสภาพ เพิ่ม ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และคุณภาพชีวิตที่ดีในผู้ที่เป็นมะเร็ง

คำสำคัญ : คุณภาพการนอนหลับ, ผู้ที่เป็นมะเร็ง, การส่งเสริมการนอนหลับโดยไม่ใช้ยา

 

Abstract

This article aims to describe the definition and level of sleep, quality of sleep, causes and factors related to quality of sleep, sleep disorders and their consequences, and promotion of quality of sleep using non-pharmacologic management in persons with cancer. According to a literature review, sleep is a decrease in a neurologically responsive process to internal and external environment, resulting in a non-rapid eye movement (NREM sleep) and a rapid eye movement (REM sleep). A person who has poor quality of sleep related to predisposing, precipitating, and perpetuating factors will be affected in their body, mind, and quality of life. The literature review demonstrates that non-pharmacologic management by reducing those factors and using cognitive behavior therapy play important roles to promote rehabilitation, activity of daily living, and quality of life of persons with cancer.

Keywords : Quality of sleep, Persons with cancer, Non-pharmacologic management

Article Details

How to Cite
1.
ดีเสมอ ซ, ธีระทองคำ แ. คุณภาพการนอนหลับในผู้ที่เป็นมะเร็ง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Sep. 13];16(1):27-39. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8889
Section
บทความวิชาการ