ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สำหรับสตรีวัยผู้ใหญ่

Main Article Content

เรวดี เพชรศิราสัณห์
นัยนา หนูนิล

Abstract

บทคัดย่อ

มะเร็งเต้านมเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของสตรีไทย การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอเป็นการตรวจโรคในระยะเริ่มแรกซึ่ง สามารถลดอัตราการตายได้ การวิจัยเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรม ส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ภายในกลุ่มสตรีวัยผู้ใหญ่ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช โดย ประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ กิจกรรมในโปรแกรมประกอบด้วยการบรรยาย กระบวนการ กลุ่ม ตัวแบบ การสาธิต การฝึกปฏิบัติ และการกระตุ้นเตือนโดยตัวแทนนักศึกษาพยาบาล จำนวน 40 คน เข้ารับการอบรมและปฏิบัติกิจกรรมตามโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างสุ่มแบบง่าย กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีจำนวนเท่ากัน กลุ่มละ 80 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม ส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ สำหรับกลุ่มควบคุมได้รับบริการ ตามปกติของสถานีอนามัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 4 ชุด ได้แก่ 1) แบบ วัดความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง 2) แบบสอบถามความเชื่อ เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนอง 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะ ตนเองในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วย ตนเอง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มโปรแกรม และหลังโปรแกรมสิ้นสุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลอง ภายหลังโปรแกรมสิ้นสุด มีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง การรับรู้สมรรถนะ ตนเองในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงก่อนเริ่ม โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีคะแนนทั้ง 4 ด้านสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยครั้งนี้ พยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้อง สามารถนำโปรแกรมไปพัฒนาทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีในชุมชนที่ ถูกต้องต่อไป

คำสำคัญ : โปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง, ความรู้, ความเชื่อ, การรับรู้สมรรถนะ, ตนเอง ,พฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

 

Abstract

Breast cancer is a threatening health problem leading to death among Thai women. Early detection with correct and consistent self-breast examination can decrease mortality rate of breast cancer. This quasi-experimental study design aimed to examine the effectiveness of a promoting self-breast examination program on knowledge, health belief, perceived self-efficacy, and self-breast examination behavior among adult women in Nakhon Si Thammarat Province. The Health Belief Model was applied to develop the program, which consisted of lecture, group process, demonstration with practice and prompting. Simple random sampling was used to recruit a sample of 160 women aged 20-60 years of age and then were assigned in the experimental or control group. Forty nurse student volunteers were selected and trained by nurse instructors to implement program in the experimental group for 12 weeks. The control group was received usual care from local health centers. Data were collected at before and after program began through interview questionnaires including knowledge, health belief, perceived self-efficacy, and self-breast examination behavior and home self-breast examination behavior record. Descriptive statistics, paired t-test, and independent t-test were used to analyze the data. The results showed that the experimental group had statistically significant higher scores of knowledge in breast cancer and self-breast examination, health belief in breast cancer and self-breast examination, perceived self efficacy in self-breast examination, and self-breast examination behavior after the program finished than before the program began. In addition, the experimental group had higher scores on the four variables than the control group. Results of this study will be useful for nurses and other health care providers to implement this program for promoting and encouraging self-breast examination behavior among other adult women in the community continuously and sustainably.

Keywords : Promoting Self-Breast Examination Program, Knowledge, Health belief, Perceived self efficacy, Self-breast examination behavior


Article Details

How to Cite
1.
เพชรศิราสัณห์ เ, หนูนิล น. ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สำหรับสตรีวัยผู้ใหญ่. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 May 3];16(1):54-69. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8894
Section
บทความวิชาการ