ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อต่อความรู้ของพยาบาล การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติพยาบาล และต่อผลลัพธ์ของการจัดการความปวด

Main Article Content

บุษรา ดาวเรือง
นิโรบล กนกสุนทรรัตน์
ดรุณี ชุณหะวัต

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อต่อความรู้ของพยาบาล การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติ พยาบาล และต่อผลลัพธ์ของการจัดการความปวด กลุ่มตัวอย่างพยาบาล เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ไม่ใช่หัวหน้าหอผู้ป่วย ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกและข้อ และสามารถเข้าร่วมการวิจัยได้ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 17 ราย กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการ นัดหมายผ่าตัดทางกระดูกและข้อและรับไว้ในหอผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจนถึงหลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง อายุ 15 ปีขึ้นไป ไม่มีภาวะฉุกเฉินเฉียบพลันหลังผ่าตัด มีการรับรู้ปกติ สามารถสื่อสารได้ กรณีผู้ป่วยสูงอายุสามารถตอบแบบสอบถามสภาพจิตอย่างสั้นได้ 8-10 คะแนน และยินดีเข้าร่วม โครงการโดยการลงนาม จำนวน 60 ราย กลุ่มตัวอย่างพยาบาล ได้รับโปรแกรมการสอนแบบผสมผสานโดยการบรรยาย และการฝึกปฏิบัติโดยมีผู้วิจัยเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวนเท่ากัน กลุ่มก่อนได้รับการดูแลจากกลุ่มพยาบาลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความ ปวดหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อกลุ่มหลังได้รับการดูแลจากกลุ่มพยาบาลหลังเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความปวด เก็บข้อมูลความรู้ของพยาบาล การรับรู้ของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มต่อการปฏิบัติพยาบาลและต่อผลลัพธ์ของการจัดการความปวด ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังพยาบาลเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความปวด คะแนนความรู้ของพยาบาล คะแนนการปฏิบัติพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงกว่าก่อนพยาบาลเข้าร่วมโปรแกรมการจัดการความปวด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผลลัพธ์ของการจัดการความปวดคือ คะแนนความปวดและคะแนนความพึงพอใจของ ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่ม ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

คำสำคัญ: ความปวดหลังผ่าตัด โปรแกรมการจัดการความปวด ผลลัพธ์การจัดการความปวด

 

Abstract

This quasi-experimental research aimed at exploring the effects of a postoperative orthopedic pain management program on nurses’ knowledge, patients’ perceptions on nursing practice and pain management outcomes. The professional nurse sample consisted of 17 nurses who were working in the orthopedic ward, were not head nurses and were available to join the whole program. The patient sample consisted 60 patients who were admitted to the orthopedic ward from pre-surgery until 48 hours after the surgery; aged 15 years old and over; having no postoperative urgent complication; having normal perception; being able to communicate and answer the questionnaire; having earned 8-10 points of the Short Portable Mental Status Questionnaire in the case of elderly patients; and willing to attend the program by signing the research consent form. The professional nurse sample was provided with integrated teaching comprising of lectures and practices with the researcher who acted as a preceptor. The patient sample was divided equally into two groups. The beforeintervention group was cared for by nurses had not yet attended the program while the after-intervention group was cared for by the same group of nurses after attending the program. Data collection was done by measuring the nurses’ knowledge before and after attending the program, nurses’ practices and pain management outcomes as perceived by the two groups of patients. The findings revealed that after attending the program, nurses’ knowledge and their practices as perceived by the patients were significantly higher than before attending the program. However, the pain management outcomes including pain scores and satisfaction on pain management between before and after attending the program were not significantly different.

Keywords: Post-operative pain, Pain management program, Pain management outcomes

Article Details

How to Cite
1.
ดาวเรือง บ, กนกสุนทรรัตน์ น, ชุณหะวัต ด. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อต่อความรู้ของพยาบาล การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติพยาบาล และต่อผลลัพธ์ของการจัดการความปวด. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 5 [cited 2024 Dec. 23];18(3):358-71. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8895
Section
บทความวิจัย