การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลสังกัดรัฐ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด โรงพยาบาลสังกัดรัฐ โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านยาเคมีบำบัดจำนวน 26 คน ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาขาด้านการแพทย์เฉพาะทางโรคมะเร็ง กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้บริหารทางการ พยาบาลหน่วยบริการเคมีบำบัด กลุ่มพยาบาลผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง และกลุ่มพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด โดยคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด คือเป็นผู้ที่มี ความรู้และประสบการณ์ตรงกับปัญหาการวิจัย และยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิดในรอบที่ 1 ส่วนรอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า ใช้ระยะเวลาเก็บรวบรวมข้อมูล 50 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่ามัธยฐานและ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่าสมรรถนะของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด ในโรงพยาบาลสังกัดรัฐ ที่ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกัน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะหลัก ซึ่งมี 90 สมรรถนะย่อย คือ 1) สมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับยาเคมีบำบัดและการบริหารยา 19 ข้อ 2) สมรรถนะด้านการจัดการความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน 8 ข้อ 3) สมรรถนะด้านการเตรียม ความพร้อมผู้ป่วยก่อน ระหว่าง และหลังได้รับยาเคมีบำบัด 12 ข้อ 4) สมรรถนะด้านความรู้ พื้นฐานเกี่ยวกับโรคและผลกระทบ 6 ข้อ 5) สมรรถนะด้านการสื่อสาร การสอน และการให้ข้อมูล 22 ข้อ 6) สมรรถนะด้านจริยธรรมและการพิทักษ์สิทธิ 12 ข้อ และ 7) สมรรถนะด้านการพัฒนา ความรู้และการวิจัย 11 ข้อ ดังนั้น ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนด คุณสมบัติบุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านยาเคมีบำบัดให้เหมาะสม และใช้ในการพัฒนาสมรรถนะ ของพยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัดต่อไป
คำสำคัญ : สมรรถนะ, พยาบาลผู้ปฏิบัติการให้ยาเคมีบำบัด, โรงพยาบาลสังกัดรัฐ, การวิจัยอนาคต
Abstract
The purpose of this research was to describe the government hospital chemotherapy nurses’ competencies. This research used the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. The sample consisted of 26 healthcare personnel divided into 5 groups: oncologists, nurse educators, head nurses of the day care chemotherapy unit, advanced practice nurses (APN) in oncology nursing, and registered nurses who worked at the day care chemotherapy unit. They were selected by specified criteria, including having knowledge and experiences in caring for cancer patients who had received chemotherapy and being willing to participate in this study. The data collection was divided to 3 periods within 50 days. In the first period, a semi-structured interview was conducted, while in the second and the third periods rating scale questionnaires were used. The data was analyzed using median and interquartile range. The results revealed that chemotherapy nurses’ competencies should comprise 7 main aspects, including 90 items, as follows: 1) knowledge of chemotherapy and administration consisting of 19 items, 2) risk management and complication management consisting of 8 items, 3) patient preparation of chemotherapy administration consisting of 12 items, 4) cancer knowledge and its impact consisting of 6 items, 5) communication and information giving consisting of 22 items, 6) ethic dimension and patient’s right consisting of 12 items, and 7) development and research consisting of 11 items. Therefore, this result can be used as basic information to recruit chemotherapy nurses and to strengthen chemotherapy nurses’ competencies appropriately.
Keywords : Competency, Chemotherapy nurses, Government hospitals, Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR)
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น