ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

Main Article Content

วันเพ็ญ ไสไหม
สุดาพรรณ ธัญจิรา
ณวีร์ชยา ประเสริฐสุขจินดา

Abstract

บทคัดย่อ

การเผชิญกับผู้ป่วยและญาติที่มีความรุนแรง ก้าวร้าวเป็นปัญหาที่คุกคามต่อการ ปฏิบัติงานของพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะของความรุนแรง ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการกระทำความรุนแรง ผลของความรุนแรง และการจัดการกับเหตุการณ์ความรุนแรงของบุคลากรทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โดยศึกษาจากบุคลากรทางการพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานงานอุบัติเหตุและ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีจำนวนทั้งหมด 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ได้รับการตอบกลับ 100% ผลการ ศึกษาพบว่าร้อยละ 84.7 (จำนวน 105 คน) ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประสบการณ์ถูกกระทำ รุนแรงในสถานที่ทำงาน ลักษณะความรุนแรงทางวาจาพบมากที่สุดร้อยละ 82.9 ปัจจัยที่ส่งเสริม ให้เกิดการถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุดร้อยละ 91.4 คือ เมาสุรา สำหรับผลของการถูก กระทำความรุนแรงตามความรู้สึกต่อเหตุการณ์มากที่สุดร้อยละ 72.4 คือ มีความรู้สึกโกรธ และ ร้อยละ 76.2 รู้สึกสูญเสียความพึงพอใจในงาน การจัดการกับความรุนแรงในสถานที่ทำงาน บุคลากรทางการพยาบาลส่วนใหญ่ร้อยละ 75.2 ใช้วิธีเดินหนีหรือหลีกเลี่ยง รองลงมาคือ ขอความช่วยเหลือจากผู้ร่วมงานและหัวหน้าเวร เมื่อเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง บุคลากรส่วน ใหญ่ไม่เขียนบันทึกรายงานถึงร้อยละ 77.1 ทั้งนี้ การจะเขียนบันทึกรายงานหรือไม่ขึ้นกับความ รุนแรงของเหตุการณ์และการพิจารณาของผู้บังคับบัญชา ส่วนหน่วยงานได้ดำเนินการสอบสวน เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคลากรที่เขียนบันทึกรายงานคิดเป็นร้อยละ 95.8 และมีการดำเนินการ ต่อกรณีร้องเรียนจากผู้ที่กระทำความรุนแรงคือ การติดต่อ/ชี้แจง สาเหตุของปัญหาที่ผู้ร้องเรียน ไม่พอใจและก่อความรุนแรงถึงร้อยละ 87.5 จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานใน การวางแผนป้องกันและจัดการเหตุการณ์ความรุนแรงในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในการ สร้างระบบความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและบุคลากรทางการพยาบาล ควรจัดการปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับความรุนแรง และส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรทางการพยาบาลในการจัดการความรุนแรง อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน, บุคลากรทางการพยาบาล, หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

 

Abstract

Violence and aggression of patients and their relatives experienced by nursing personnel in the Emergency Department is a significant problem. The purpose of this research was to describe the characteristics of violence, precipitating factors, consequences, and management of workplace violence among nursing personnel at the Emergency Department. The sample was recruited by purposive sampling consisting of 124 nursing personnel from the Emergency Department at Ramathibodi and Maharat Nakhonratchasima Hospitals. A structured questionnaire developed by the researchers was used to collect the data and the response rate was 100%. The results showed that 84.7% of the sample had been affected by threats/violence. Verbal abuse was found to be the most common type of workplace violence (82.9%). The majority of respondents (91.4%) perceived that a precipitating factor behind the violence was drunkenness. The violence affected the respondents in the form of emotional anger (72.4%) and 76.2% of the sample felt dissatisfied with their job. Walking away or avoiding confronting with clients was most used by healthcare providers as a strategy to deal with violence (75.2%), followed by asking for help from colleagues or notifying an in-charge nurse. Approximately, 77% of the sample did not report violent acts to the department. Whether the violent event was reported by healthcare personnel depended upon the severity of violence and consideration of the division head. Of all reported violence incidents, 95.8% were investigated and in 87.5% of the filed reports, clients were explained by responsible administrators about dissatisfaction with the events. The results from this study should be used as basic information to plan strategies for prevention and management of violence in the Emergency Department. To promote safety environments for clients and healthcare personnel, precipitating factors of violence should be managed and competency of nursing personnel to appropriately deal with the violence should be strengthened.

Keywords : Workplace violence, Nursing personnel, Emergency department

Article Details

How to Cite
1.
ไสไหม ว, ธัญจิรา ส, ประเสริฐสุขจินดา ณ. ความรุนแรงในสถานที่ทำงานและการจัดการของบุคลากรทางการพยาบาล หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Apr. 29];16(1):121-35. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8935
Section
บทความวิชาการ