พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี

Main Article Content

ศิวาพร ทองสุข
พรรณวดี พุธวัฒนะ
พิศสมัย อรทัย

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมและ พฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี และเปรียบเทียบพฤติกรรม สร้างเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมการรับประทานอาหารระหว่างนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปี ที่ 1-4 โดยใช้แบบจำลองการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย เก็บ รวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ปีการศึกษา 2553 จำนวน 763 คน โดยใช้แบบวัดวิถี การดำเนินชีวิตเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการ สร้างเสริมสุขภาพโดยรวมทุกชั้นปีอยู่ในระดับปานกลางและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการ สร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลทั้ง 4 ชั้นปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักศึกษาพยาบาลทุกชั้นปีอยู่ในระดับเหมาะสม และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 เหมาะสมกว่า ชั้นปีที่ 2 ชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะว่า ผู้บริหาร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตควรเร่งส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพดีขึ้น คงไว้ซึ่งการมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระดับเหมาะสม และควรส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของพฤติกรรม และเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านสุขภาพ

คำสำคัญ: พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร นักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

The purposes of this research were to examine overall health promoting behaviors and eating behaviors of Ramathibodi nursing students and to compare the mean scores of health promoting behaviors and eating behaviors among Ramathibodi nursing students’ years 1-4. Pender’s Health Promotion Model was used as a conceptual framework. Seven hundred and sixty three students from Ramathibodi School of Nursing, Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital, Mahidol University in the academic year 2010 were recruited to participate in the study. They were asked to respond to the Health Promoting Lifestyle Profile II, and the Eating Behavior Questionnaire. Descriptive statistics and one-way ANOVA were used for data analysis. Results showed that the overall of health promoting behavior scores of nursing students was at a moderate level and there were no statistical differences in the mean scores of health promoting behaviors among nursing students in years 1-4. The mean score of eating behavior of nursing students was at a suitable level and the mean scores of eating behaviors of nursing students in year 1 were more suitable than nursing students in year 2, year 3, and year 4. The findings in this study suggested that administrators who are involved with the Bachelor nursing curriculum should promptly enhance health promoting behaviors, maintain suitable eating behaviors, and develop health promoting environment in order to support sustainable behaviors of nursing students for being a good health role model.

Keywords: Health promoting behaviors, Eating behaviors, Nursing students

Article Details

How to Cite
1.
ทองสุข ศ, พุธวัฒนะ พ, อรทัย พ. พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 6 [cited 2024 Apr. 29];18(2):178-89. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8939
Section
บทความวิจัย