การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนการดำเนินชีวิตระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิค: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

ขวัญใจ สิทธินอก
พรทิพย์ มาลาธรรม
พรรณวดี พุธวัฒนะ
ฉัตรประอร งามอุโฆษ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายแบบภาคตัดขวาง เพื่อเปรียบเทียบปัจจัย ส่วนบุคคล (เพศ อายุ และประวัติการมีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน) และแบบแผนการดำเนินชีวิต (แบบแผนการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์) ระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิคในประชาชนเขตอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนได้กลุ่มตัวอย่าง 149 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลและแบบสอบถามแบบแผนการรับประทานอาหาร กิจกรรม ทางกาย การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่มี และไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิค ตามเกณฑ์ของโครงการศึกษา คอเลสเตอรอลของสหรัฐอเมริกา (National Cholesterol Education Program ATP III) แต่ใช้ เกณฑ์เส้นรอบเอวตามเกณฑ์ของชาวเอเชีย กลุ่มตัวอย่างมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 88 ปี เฉลี่ย 50.38 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 56.4 เพศชายร้อยละ 43.6 พบผู้มีกลุ่มอาการเมตาบอลิครวมร้อยละ 30.1 โดยกลุ่มที่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิคมีอายุเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิค และมี จำนวนการสูบบุหรี่น้อยกว่าในกลุ่มที่ไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อ ควบคุมตัวแปร เพศ อายุ และเส้นรอบเอว ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่และการมี กลุ่มอาการเมตาบอลิค นอกจากนี้ พบว่า เพศ ประวัติการมีญาติสายตรงเป็นโรคเบาหวาน แบบแผนการรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกาย และการดื่มสุราไม่มีความสัมพันธ์กับการมี กลุ่มอาการเมตาบอลิคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การที่แบบแผนการดำเนินชีวิตของสองกลุ่มไม่ แตกต่างกันในครั้งนี้ อาจเนื่องจากมีปัจจัยเกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการเมตาบอลิคมีหลากหลาย และ การควบคุมตัวแปรแทรกซ้อนมีข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม จากการที่พบกลุ่มอาการ เมตาบอลิคในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่าวัยอื่น จึงควรป้องกันหรือชะลอการมีกลุ่มอาการเมตาบอลิค ตั้งแต่ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุเพื่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในระยะยาว

คำสำคัญ: แบบแผนการดำเนินชีวิต แบบแผนการรับประทานอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การสูบบุหรี่ กลุ่มอาการเมตาบอลิค

 

Abstract

This descriptive, cross-sectional design aimed to compare personal factors (gender, age, and being the first degree relatives of diabetes persons) and lifestyles (dietary patterns, physical activity, smoking, and alcohol consumption) between persons with and without metabolic syndrome at a district in Nakhon Ratchasima Province. Multi-stage sampling was used to recruit a sample of 149 persons aged at least 20 years. The research instruments included the Demographic Data Questionnaire, the Pattern of Food Consumption Questionnaire, the Global Physical Activity Questionnaire, the Smoking Questionnaire, and the Alcohol Consumption Questionnaire, physical examination, and laboratory testing. The sample was divided into two groups: metabolic syndrome and non-metabolic syndrome according to the diagnostic criteria of metabolic syndrome of the National Cholesterol Education Program ATP III, but the waist circumference was based on the criterion of Asian people. The analysis revealed that 56.4% were female and 43.6% were male. The age of the sample ranged from 20 to 88 years with a mean of 50.38 years. The prevalence of the metabolic syndrome was 30.1%. The mean age in the metabolic syndrome group was significantly higher than that in the non-metabolic syndrome group, but the smoking pack year in the metabolic syndrome group was significantly lower than that in the non-metabolic syndrome group. Additionally, gender, being the first degree relatives of diabetes persons, dietary pattern, physical activity, and alcohol consumption were not significantly related to metabolic syndrome. However, it is too early to conclude that lifestyle variables are not significant because the metabolic syndrome involves several components. The non-significant findings might be due to a limitation to control extraneous variables in this study. However, an intervention program should be developed to early prevent or delay the metabolic syndrome, which is a risk factor of cardiovascular disease in the long term.

Keywords: Lifestyles, Dietary pattern, Physical activity, Smoking, Metabolic syndrome

Article Details

How to Cite
1.
สิทธินอก ข, มาลาธรรม พ, พุธวัฒนะ พ, งามอุโฆษ ฉ. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลและแบบแผนการดำเนินชีวิตระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีกลุ่มอาการเมตาบอลิค: กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 6 [cited 2024 May 4];18(2):190-206. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8945
Section
บทความวิจัย