ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

สุภาภรณ์ อนุรักษ์อุดม
ศากุล ช่างไม้
สมพันธ์ หิญชีระนันทน์
ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการทำนาย พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ ระยะเวลาที่เป็นโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้อุปสรรค ในการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสขุ ภาพดา้ นโภชนาการ กลมุ่ ตวั อยา่ งเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 120 คน ได้จากการสุ่มอย่างมีระบบ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึง เดือนมีนาคม 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ แบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคของการกระทำพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพด้านโภชนาการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาอำนาจการทำนายโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ย ของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาก คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ประโยชน์ของการกระทำด้านโภชนาการโดยรวมอยู่ในเกณฑ์มาก และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้อุปสรรค ด้านโภชนาการโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่า ปัจจัย ที่ใช้ในการศึกษาทั้งหมดในครั้งนี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ร้อยละ 23 จากผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนำ ข้อมูลมาใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของผู้ป่วยให้มากขึ้น โดยเน้นการส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ด้านโภชนาการให้มากขึ้น

คำสำคัญ : พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, โภชนาการ, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

The purpose of this descriptive research was to examine factors predicting nutritional health-promoting behaviors in type 2 diabetic patients. The factors included marital status, educational level, income, duration of having diabetes, perceived benefits, and perceived barriers to nutritional health-promoting behaviors. The sample consisted of 120 patients, who were selected using systematic random sampling. Structured questionnaires were used for data collection during February to March 2008. The questionnaires included the Personal Data Assessment Form, the Nutritional Health-Promoting Behavior Questionnaire, and the Perceived Benefit and the Perceived Barrier Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman’s Rho, Eta correlation, Pearson’s correlation, and multiple regression with the Enter method. The results of this study showed that the overall mean of nutritional health-promoting behaviors was at a rather high level; the overall mean of perceived benefits was at a rather high level and the overall mean of perceived barriers was at a moderate level. The results of multiple regression analysis revealed that income, educational level, and perceived benefits of health-promoting behavior could jointly explain 23% of variance in nutritional health-promoting behaviors. These results can be utilized as basic information for developing interventions for nutritional healthpromoting behaviors of type 2 diabetic patients at risk by focusing on increasing perception of benefits of performing health-promoting behaviors.

Keywords : Health-promoting behaviors, Nutrition, Type 2 diabetic patients

Article Details

How to Cite
1.
อนุรักษ์อุดม ส, ช่างไม้ ศ, หิญชีระนันทน์ ส, ณ อยุธยา ศก. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Dec. 5];16(2):155-68. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8951
Section
บทความวิชาการ