การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและของทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ร่วมกับเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง

Main Article Content

สตรีรัตน์ ธาดากานต์
ทัศนีย์ พฤกษาชีวะ
อดิเทพ เชาว์วิศิษฐ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของตนเองและของทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนร่วมกับเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสตรีตั้งครรภ์ที่อยู่ในระยะคลอดจำนวน 11 คน อายุระหว่าง 20 ถึง35 ปี ความสูงไม่น้อยกว่า 150 เซนติเมตร ญาติสายตรงและตนเองปฏิเสธโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีภาวะอ้วนและได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ หรือมีภาวะเบาหวานร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์รายบุคคลและบันทึกเทป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อหาประเด็นสำคัญผลการวิจัยพบว่า สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินเกณฑ์ปกติขณะตั้งครรภ์ร่วมกับมีภาวะเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ รับรู้ 3 ประเด็นหลักดังนี้ 1) การรับรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินเกณฑ์ปกติระหว่างตั้งครรภ์ซึ่งประกอบด้วย ภาวะอ้วนเป็นภาวะปกติของการตั้งครรภ์ ภาวะอ้วนเป็นผลมาจากการรับประทานอาหาร และภาวะอ้วนขณะตั้งครรภ์ไม่มีผลต่อสุขภาพของตนเองและทารก 2) การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองและของทารก ประกอบด้วย ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเป็นภาวะที่น่ากลัวและสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของตนเองและทารก ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการรักษาและ 3) การรับรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนกับการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ประกอบด้วย ภาวะอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่น่ากลัว จึงอาจกล่าวได้ว่าการรับรู้ต่างๆเหล่านี้ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพของตนเองและทารกขณะตั้งครรภ์ และการวางแผนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปผลของการศึกษาครั้งนี้สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลสตรีตั้งครรภ์เพื่อป้องกันภาวะอ้วนหรือมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นเกินเกณฑ์ปกติ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงและเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของสตรีที่ตั้งครรภ์และทารก

คำสำคัญ : การรับรู้ภาวะสุขภาพ, ภาวะอ้วนในสตรีตั้งครรภ์, เบาหวานขณะตั้งครรภ์, ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

 

Abstract

The purpose of this qualitative study was to explore health perceptions ofobese pregnant women with gestational diabetes and/or hypertension towardthemselves and their fetuses. The sample recruited in the study consisted of 11 obesepregnant women in the labor stage and were diagnosed as gestational diabetes and/orhypertension. They were aged between 20 and 35 years and taller than 150 cm. Allparticipants had no family and personal history of diabetes and hypertension. The datawere gathered using individual interviews, tape-recording and then analyzed usingthematic content analysis. It was found that health perceptions of obese pregnantwomen with gestational diabetes and/or hypertension were classified into three mainthemes. Firstly, perceptions toward obesity or excessive weight gain duringpregnancy were that: obesity in pregnancy was a normal event; obesity was a resultfrom food consumptions; and obesity during pregnancy did not cause adverse effectson their own and fetuses’ health. Secondly, perceptions toward their own andfetuses’ health were that: existing complications could generally occur duringpregnancy; existing complications were frightful and could threaten their own andfetuses’ health; and more money was spent for complication managements andtreatments. Thirdly, perceptions toward obesity for further pregnancy were thatobesity was a risk factor of gestational diabetes and/or hypertensive disorder and thatpregnancy was a horrifying episode. These findings pointed out that women’sperceptions affect self-care behaviors and future pregnancy plan and these can beused as basic information for antenatal care to prevent excessive weight gain duringpregnancy and potential complications.

Keywords : Health perception, Obese pregnant women, Gestational diabetes, Hypertensionin pregnancy

Article Details

How to Cite
1.
ธาดากานต์ ส, พฤกษาชีวะ ท, เชาว์วิศิษฐ์ อ. การรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองและของทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะอ้วน ร่วมกับเบาหวานและ/หรือความดันโลหิตสูง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Dec. 23];16(2):185-200. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8955
Section
บทความวิชาการ