การเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานเป็นยาฉีด อินซูลินของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

ยุพาพรรณ ช้างพลายงาม
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ
พรทิพย์ มาลาธรรม
ฉัตรประอร งามอุโฆษ

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาแบบแผน คุณสมบัติและปัจจัยเงื่อนไขในการเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานเป็นยาฉีดอินซูลินของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยใช้ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านของเมลิสและคณะ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับบริการตรวจจากหน่วยตรวจผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี ระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2551จำนวน 40 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าแบบแผนของการเปลี่ยนผ่านมีทั้งการเปลี่ยนผ่านเรื่องเดียว คือ ด้านภาวะสุขภาพและความเจ็บป่วย หรือการเปลี่ยนผ่านที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกันหลายอย่าง คือ ด้านภาวะสุขภาพ บทบาทในครอบครัว ด้านเศรษฐกิจการเงิน และอาชีพ คุณสมบัติของการเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ 1) การตระหนักถึงความสำคัญของการฉีดอินซูลินแต่ใช้เวลาต่างกัน 2) การยอมรับการฉีดอินซูลินเข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน 3) การปรับเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตในเรื่องการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมทั้งเรียนรู้การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองเพื่อให้เหมาะกับการใช้ยาฉีดอินซูลิน 4) ใช้เวลาในการปรับตัวแตกต่างกัน ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 6เดือน แต่บางรายยังไม่สามารถปรับตัวได้ในระยะเวลา 6 เดือน และ 5) เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์สำคัญ ได้แก่ การที่แพทย์เปลี่ยนจากยารับประทานเป็นยาฉีดอินซูลิน ส่วนปัจจัยเงื่อนไขในการเปลี่ยนผ่าน ได้แก่ การให้ความหมายต่อการเปลี่ยนยารักษาเบาหวาน ความรู้และการเตรียมตัวในการเปลี่ยนยา เศรษฐานะทางสังคม ภาวะสุขภาพ เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การฉีดอินซูลินแหล่งสนับสนุนทางสังคม และเหตุการณ์อื่นเกิดร่วม ผลการศึกษาครั้งนี้ทำให้บุคลากรทางสุขภาพเข้าใจปรากฏการณ์การเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานเป็นยาฉีดอินซูลินของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อวางแผนการดูแลได้อย่างเหมาะสม

คำสำคัญ : ทฤษฎีการเปลี่ยนผ่าน, การเปลี่ยนผ่าน, ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน ยาฉีดอินซูลิน, เบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

The purpose of this qualitative descriptive study was to explore patterns,properties, and conditions of the transition from use of oral hypoglycemic agents toinsulin treatment of persons with type 2 diabetes guided by the Transition Theory ofMeleis and colleagues. Purposive sampling was used to recruit a sample of 40persons with type 2 diabetes who sought treatment at the medical outpatientdepartment at Ramathibodi Hospital. Data were collected with a semi-structuredinterview from April to May, 2008. The instruments used in the study included theDemographic Data Form, the Clinical Data Record Form and an Interview Guidedeveloped by the researchers. The data were analyzed using descriptive statistics andcontent analysis. The results revealed that patterns of transition could be identified asa single transition caused by health conditions and illness of having diabetes, ormultiple and simultaneous transitions caused by changes in their life regarding healthconditions, role as a caregiver in their family, physical limitations, financial status,and works. Properties of transition were characterized as five components: 1)awareness of the transition from use of oral hypoglycemic agents to insulin treatment,but the onset of awareness varied; 2) engagement in using insulin in their dailyactivities; 3) changes in their lifestyles in terms of diet, physical activity, and selfmonitoringof blood glucose to be congruent with insulin treatment; 4) time span ofchanges varied form 2 weeks to 6 months or even longer in some informants; and 5)critical points and events in this study were the treatment change from oralhypoglycemic agents to insulin treatment. Transitional conditions included meaningsgiven to the transition, knowledge and preparation, socioeconomic status, healthstatus, insulin delivery devices, social support, and concomitant events. Findings inthis study help healthcare providers understand the phenomenon of transition from useof oral hypoglycemic agents to insulin treatment of persons with type 2 diabetes,thereby providing care for those with type 2 diabetes appropriately.

Keywords : Transition, Oral Hypoglycemic Agents, Insulin, Type 2 Diabetes

Article Details

How to Cite
1.
ช้างพลายงาม ย, หาญประสิทธิ์คำ ข, มาลาธรรม พ, งามอุโฆษ ฉ. การเปลี่ยนผ่านจากการใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทานเป็นยาฉีด อินซูลินของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Apr. 29];16(2):200-17. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8956
Section
บทความวิชาการ