การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

ขวัญหทัย ไตรพืช
พรทิพย์ มาลาธรรม
ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ
วิศาล คันธารัตนกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้จากงานวิจัยเกี่ยว กับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996-2007 จำนวน 23 เรื่อง แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของ งานวิจัยตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย พบงานวิจัยเชิงทดลองแบบ randomized controlled trial (ระดับ A) จำนวน 11 เรื่อง และงานวิจัยที่เป็นเชิงทดลองแต่ไม่ได้ ทำการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุม (random assignment) หรือการวิจัยกึ่งทดลอง (ระดับ B) จำนวน 12 เรื่อง แต่ไม่พบงานวิจัยระดับ C และ D ผลการศึกษาพบว่าการออกกำลัง กายที่สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด และ/หรือระดับน้ำตาลสะสมได้คือ 1) การออกกำลังกาย ประเภทแอโรบิกที่ความถี่อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ความหนักปานกลาง เวลาออกกำลังกาย 30-60 นาที ระยะเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ 2) การออกกำลังกายแบบแรงต้านที่ความถี่อย่าง น้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์ ระดับความหนักปานกลาง เวลาออกกำลังกาย 45-90 นาที ระยะเวลา อย่างน้อย 8 สัปดาห์ แต่ถ้าออกกำลังกายด้วยขนาดความหนักมากขึ้น จะใช้ระยะเวลาในการ ออกกำลังกายสั้นลง และ 3) การออกกำลังกายประเภทแอโรบิกร่วมกับการออกกำลังกายแบบ แรงต้านที่ความถี่อย่างน้อย 2 ครั้ง/สัปดาห์ ความหนักปานกลาง เวลาออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที ระยะเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ของการออก กำลังกายต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 โดยความรู้ที่เกี่ยวกับ ความถี่ ความหนัก เวลา และประเภทของการออกกำลังกาย จะทำให้บุคลากรทางสุขภาพทราบ องค์ความรู้ที่ชัดเจนขึ้นในการให้คำแนะนำผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งจะ นำไปสู่การควบคุมภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นการส่งเสริมให้ผู้ที่เป็น เบาหวานชนิดที่ 2 มีสุขภาพโดยรวมดีขึ้น

คำสำคัญ : การออกกำลังกายประเภทแอโรบิก, การออกกำลังกายแบบแรงต้าน, การควบคุม ระดับน้ำตาลในเลือด, ผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

The objective of this research was to analyze and synthesize knowledgefrom research studies on the influence of exercise on glycemic control in persons withtype 2 diabetes. The analysis and synthesis were conducted using 23 research studiesand articles published between 1996 and 2007. Their levels of evidence wereclassified based on the criteria of the Royal College of Physicians of Thailand. Ofthese, 11 were randomized controlled trials (Level A), and 12 were experimentalstudies without random assignment or quasi-experimental studies (Level B).However, no research in Level C or Level D was found. Findings of the studyrevealed that different types of exercise that have an effect on glycemic control are asfollows: 1) aerobic exercise that needs to be performed with a frequency of at leastthree times a week, with moderate intensity, lasting 30 to 60 minutes, for at leasteight weeks; 2) resistance training with a frequency of three times a week withmoderate intensity, lasting 45 to 90 minutes, for at least eight weeks. If the resistancetraining with harder intensity is performed, the duration of the exercise can beshortened; and 3) aerobic exercise combined with resistance training at least twice aweek with moderate intensity lasting 30 minutes for at least four weeks. Findings ofthe present study reveal the benefits of exercise varying in terms of frequency,intensity, time, and type in persons with type 2 diabetes to effectively control theblood glucose level. These findings can also be used as fundamental information forfurther research on exercise in persons with type 2 diabetes mellitus.

Keywords : Aerobic exercise, Resistance training, Glycemic control, Type 2 diabetes

Article Details

How to Cite
1.
ไตรพืช ข, มาลาธรรม พ, หาญประสิทธิ์คำ ข, คันธารัตนกุล ว. การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มีผลต่อการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Nov. 22];16(2):259-78. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8976
Section
บทความวิชาการ