ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรม สุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

Main Article Content

รัชมนภรณ์ เจริญ
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์
อำภาพร นามวงศ์พรหม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ Pre-experiment มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมสุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 25 รายและสมาชิกในครอบครัวและผู้ดูแล จำนวน 25 ราย ได้รับโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่พัฒนาจากแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ประกอบด้วยกิจกรรมรวม 3 ครั้ง ได้แก่ กิจกรรมการให้ความรู้ การเยี่ยมบ้าน และการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพและแบบบันทึกผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon Singed-Rank Test และ Fisher’s Exact Testผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยอันดับคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจำนวนหรือร้อยละของผู้สูงอายุที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลการวิจัยครั้งนี้สนับสนุนประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งต่อไป ควรวิจัยติดตามระยะยาวเพื่อศึกษาความคงอยู่ของพฤติกรรม

คำสำคัญ : โปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัว, พฤติกรรมสุขภาพ, การควบคุมน้ำตาลในเลือด, ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2

 

Abstract

This pre-experimental study aimed to investigate the effects of aknowledge development and family participation program on health behaviors andglycemic control in older persons with type 2 diabetes. Purposive sampling was usedto recruit 25 older persons with type 2 diabetes and their 25 family’s members. TheHealth Belief Model was used as a conceptual framework to develop a knowledgedevelopment and family participation program. The sample participated in a 12-weekprogram and received the intervention, including group education, home visit, andtelephone counseling. Health behavior scores and glycemic control were assessedbefore and after the program. Descriptive statistics, Wilcoxon Singed-Rank Test, andFisher’s Exact Test were used to analyze the data. After the program finished, it wasfound that the mean rank of health behavior scores of the older persons wassignificantly higher than that before the program. Also, the percentage of older personswith type 2 diabetes who had good glycemic control was significantly higher than thatbefore the program. The results supported the effectiveness of the program in olderpersons with type 2 diabetes. However, a long-term follow up study is recommendedfor further studies in order to find the way to sustain their health behaviors.

Keywords : Knowledge development and family participation program, Health behaviors,Glycemic control, Older persons, Type 2 diabetes

Article Details

How to Cite
1.
เจริญ ร, ภักดีวงศ์ น, นามวงศ์พรหม อ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรม สุขภาพและการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Apr. 29];16(2):279-92. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8979
Section
บทความวิชาการ