การศึกษาติดตามผลของการจัดการเรียนการสอนกฎหมายวิชาชีพ การพยาบาลต่อความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลตามกฎหมายของนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

แสงทอง ธีระทองคำ
เบญจพร จึงเกรียงไกร
ไสว นรสาร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงบรรยายแบบติดตามไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามผลของการจัดการเรียนการสอนกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ในด้านความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลในขอบเขตของกฎหมายในนักศึกษาพยาบาลรามาธิบดี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลรามาธิบดีชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2549จำนวน 101 คน ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์และตอบแบบสอบถามครบถ้วน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการสอน และหลังการสอนวิชากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ 4 และ 8 เดือน โดยใช้แบบวัดความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลในขอบเขตของกฎหมายที่เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการสอนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลในขอบเขตของกฎหมายอยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลภายหลังการสอนสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลในขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลระหว่างก่อนการสอนและหลังการสอน ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ จึงมีประโยชน์และมีความสำคัญต่อการปฏิบัติการพยาบาล สถาบันการศึกษาทางการพยาบาลจึงควรพัฒนาการเรียนการสอนวิชากฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ให้เป็นรูปธรรม และง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้ควบคู่กับการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อลดปัญหาการฟ้องร้องทางกฎหมาย และเพิ่มคุณภาพการพยาบาล

คำสำคัญ : กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, ความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลนักศึกษาพยาบาล

 

Abstract

The descriptive prospective study was carried out to examine outcomes of ateaching-learning course of the professional nursing law on knowledge and nursingpractice within the realm of laws among nurse students. The sample was the third yearof Ramathibodi Nursing Students in the academic year 2006. There were 101participants, who registered this course and completed questionnaires. Data werecollected before and after 4 and 8 months of the teaching-learning course ofprofessional nursing and midwifery law using the questionnaires of knowledge andnursing practice in the realm of nursing law and related law. The data were analyzedusing descriptive statistics and one-way repeated measures ANOVA. The resultedrevealed that before the course began, participants had the mean score of knowledgeand nursing practice in the realm of law in the moderate and high level, respectively.After the course ended, the participants showed significantly increased knowledge ofnursing law as compared to before the course began. However, there was nosignificant difference of mean scores of nursing practice in the realm of law betweenbefore and after course. Thus, the teaching-learning course of professional nursingand midwifery law is beneficial and important to nursing practice. The academicinstitute of nursing should develop the teaching-learning course of professionalnursing and midwifery law to be less abstract and simple to apply in the nursingpractice following the profession criteria in order to increase the quality of nursingand decrease accusation of legal problems.

Keywords : Professional Nursing and Midwifery Law, Knowledge, NursingPractice, Nurse Students

Article Details

How to Cite
1.
ธีระทองคำ แ, จึงเกรียงไกร เ, นรสาร ไ. การศึกษาติดตามผลของการจัดการเรียนการสอนกฎหมายวิชาชีพ การพยาบาลต่อความรู้และการปฏิบัติการพยาบาลตามกฎหมายของนักศึกษาพยาบาล. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2025 Jan. 15];16(3):378-89. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8997
Section
บทความวิชาการ