ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาและการรับรู้ การควบคุมโรคของผู้สูงอายุโรคหืด
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายภาคตัดขวางเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านสภาพสรีระของผู้สูงอายุ ภาวะการรู้คิด การสนับสนุนของครอบครัว และการสนับสนุน ของบุคลากรทีมสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาทั้งยาชนิดรับประทานและชนิด สูดพ่น และเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยากับการควบคุม โรคหืดของผู้สูงอายุ โดยใช้ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย กลุ่ม ตัวอย่างเป็นผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหืด มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาใน คลินิกโรคหืด แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพฯ ในช่วงเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมิถุนายนปี พ.ศ. 2552 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 110 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายไคสแควร์ และสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการ ศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วง 60 ถึง 90 ปี โดยเฉลี่ย 68.99 ปี เป็นเพศหญิงร้อย ละ 78.2 และเป็นเพศชายร้อยละ 21.8 จากการวิเคราะห์พบว่าความสามารถที่ดีในการมองเห็น ฉลากยามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการอ่านฉลากทุกครั้งก่อนใช้ยา อาการมือสั่นขณะเคลื่อนไหว มีความสัมพันธ์กับการไม่สามารถกดยาพ่นได้ แต่ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือไม่มีความสัมพันธ์ กับความสามารถในการกดยาพ่น จำนวนฟันหน้าครบมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการอมหลอดพ่นยาได้มิด อย่างไรก็ตามพบว่าการสนับสนุนของครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยา แต่การสนับสนุนของบุคลากรทีมสุขภาพมีความสัมพันธ์ ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคหืด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.8) สามารถควบคุมโรคหืดได้ในระดับปานกลาง และคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองในการใช้ยาในระดับมาก มีความสัมพันธ์กับการควบคุมโรคหืดในระดับตํ่า ซึ่งอธิบายได้ว่าเมื่อผู้สูงอายุรับรู้ว่าควบคุมโรคหืดได้น้อย จึงมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองมาก ผลการ ศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบุคลากรทีมสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความ สามารถการดูแลตนเองด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคหืด เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุมีความสามารถ ควบคุมอาการของโรคหืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแลตนเอง การใช้ยา ระดับการควบคุมโรคหืด ผู้สูงอายุ โรคหืด
Abstract
The aims of this descriptive correlational study were to investigate the relationship between physical status, family support, healthcare professional support, and self-care behavior for medication use and to investigate the relationship between self-care behavior for medication use and perceived asthma control in older persons with asthma. Orem’s self-care theory was used as a conceptual framework to guide the study. Purposive sampling was used to recruit a sample of 110 persons with asthma, aged 60 years and older who visited the Asthma Clinic at the Medical Outpatient Department at Ramathibodi Hospital, Bangkok, from January to June, 2009. The data were analyzed using descriptive statistics, Chi-square test, and Spearman’s Rho correlation coefficient. Findings of this study showed that age of the sample ranged from 60 to 90 years with a mean of 68.99 years. Analysis revealed that good vision was related to always reading medication label behavior; action tremor of hands was related to the low ability to press the canister of the metered dose inhaler, whereas handgrip strength was not significantly correlated with ability to press the canister; a higher number of incisors was related to the ability to cover the mouthpiece of the metered dose inhaler. However, family support was not related to self-care behavior for medication use, while healthcare professional support demonstrated a significant relationship to self-care behavior for medication use. Furthermore, the high score on self-care behavior for medication use was significantly correlated with the low score on perceived asthma control. Results of this study suggested that healthcare professionals play a significant role in promoting self-care behavior for medication use in older persons with asthma. They should assess the physical status of the older person to plan intervention programs to increase self-care behavior for medication use in both oral medications and inhaled medications appropriately to achieve effective asthma control.
Keywords: Self-care behavior, Medication use, Asthma control, Older persons, Asthma
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น