ประสบการณ์การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน

Main Article Content

ไพลิน พิณทอง
ธิราภรณ์ จันทร์ดา
อรสา พันธ์ภักดี
พงศ์เทพ ธีระวิทย์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ [noninvasive positive-pressure ventilation (NPPV)] เป็นเวลา 48 ชั่วโมงขึ้นไป ที่เป็นผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 20 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2552 ถึง มกราคม 2553 โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ และการ สังเกตการจดบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเด็นใหญ่คือ ประสบการณ์การได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจและการจัดการอาการที่เกิดจากการรักษาด้วยเครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ ด้านประสบการณ์ของกลุ่มตัวอย่างรับรู้และให้ความหมายของการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ ท่อช่วยหายใจใน 3 ลักษณะคือ เป็นอุปกรณ์ช่วยระบบหายใจเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิต และเป็นอุปกรณ์ช่วยทำให้ปอดและหลอดลมกลับมาทำงานดีขึ้น กลุ่มตัวอย่างรับรู้ประโยชน์ของการใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจโดยให้ความเห็นว่า เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วย หายใจทำให้หายใจสะดวกขึ้น หายเหนื่อย และบรรเทาอาการไม่สุขสบายอื่นๆ จากโรคที่เป็นในทางตรงกันข้ามกลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่าการใส่เคื่รองช่วยหายใจชนิดไมใส่ท่อช่วยหายใจมีผลให้เกิดความไม่สุขสบายทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยทำให้รู้สึกว่าอึดอัดขณะหายใจ กลัว วิตกกังวล ในระยะแรกที่ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับการใส่เครื่อง ต่อมาเมื่อใส่เครื่องนานขึ้นทำให้เจ็บบริเวณใบหน้า เนื่องจากถูกหน้ากากกด และรู้สึกไม่สุขสบาย เนื่องจากมีลมรั่วจากหน้ากาก รวมทั้งทำให้ไม่สามารถพูดคุยสื่อสารได้ตามปกติ จึงรำคาญและ หงุดหงิดเพิ่มขึ้น การจัดการอาการไม่สุขสบายที่เกิดจากการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไมใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่พยายามปรับการหายใจให้สัมพันธ์กับเครื่องและบรรเทาอาการ ไม่สุขสบายด้วยตนเองและขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการศึกษาประสบการณ์ของผู้ป่วยภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องช่วย หายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจช่วยให้บุคลากรทีมสุขภาพเข้าใจผู้ป่วยและเป็นข้อมูลสำหรับการ วางแผนการพยาบาลที่จะลดความไม่สุขสบายจากการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจและช่วยให้ผู้ป่วยปรับตัวได้กับการใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ

คำสำคัญ: ภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ประสบการณ์ของผู้ป่วย เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ ท่อช่วยหายใจ

 

Abstract

This qualitative research aimed to explore the experience of patients with acute respiratory failure in receiving non-invasive positive-pressure ventilation (NPPV). The participants consisted of 20 inpatients receiving treatment of NPPV for 48 hours or more at Department of Medicine, Ramathibodi Hospital. The data were collected during August 2009 to January 2010 using interviews, observations, and field notes, and then, were analyzed using a content analysis method. The results were presented into two main parts: patients’ experience with the NPPV and their management with uncomforted symptoms after receiving NPPV. Patients perceived and defined NPPV in three perspectives, namely a respiration-support device, a life-saving device, and a device improving the functions of the lungs and bronchus. In addition, the patients felt that NPPV eased breathing, reduced exhaustion, and alleviated other symptoms resulting from their illnesses. On the other hand, they experienced some negative effects of NPPV. For instance, they were anxious when using the device for the first time due to their unfamiliarity with machine use and breathing discomfort. Also, after a longer period of use, they suffered pain in their face and feelings of discomfort because of the pressure of the device and the air leakage from the mask, respectively. As a result, they could not communicate normally, leading to feelings of annoyance and irritation. To manage with these problems, the patients tried to synchronize their breathing with the device and lessened the feelings of discomfort by helping themselves and seeking help from the medical team. Findings on experience in receiving NPPV enable the healthcare team to understand the patients and serve as information for planning nursing activities to alleviate the discomfort caused by NPPV, and to help the patients adjust to the use of NPPV.

Keywords: Acute respiratory failure, Experience of patients, Non-invasive positivepressure ventilation

Article Details

How to Cite
1.
พิณทอง ไ, จันทร์ดา ธ, พันธ์ภักดี อ, ธีระวิทย์ พ. ประสบการณ์การใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดไม่ใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 May 3];17(3):343-57. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9035
Section
บทความวิชาการ