ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรสในผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว

Main Article Content

สายสุนีย์ ทับทิมเทศ
สมจิต พฤกษะริตานนท์
ธราธิป พุ่มกำพล

Abstract

บทคัดย่อ

ความขัดแย้งของคู่สมรสเป็นปัญหาที่พบบ่อยในครอบครัวไทยและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรส การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในผู้ป่วยที่มาใช้บริการที่หน่วยตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลรามาธิบดีที่มีความขัดแย้งระหว่างคู่สมรสจำนวน 272 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละไคสแควร์ Odd Ratio และ Logistic regression ผลการ ศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่มีความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 91.91 เคยใช้วิธีจัดการความขัดแย้งแบบมุ่งแก้ปัญหามาก่อนได้แก่ การยอมรับปัญหาร่วมกัน การพูดคุยปรึกษา หาทางแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งผู้ชายใช้วิธีนี้มากกว่าผู้หญิง (ร้อยละ 97.70 และ ร้อยละ 89.19) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ของการจัดการแบบนี้กับการบาดเจ็บ ส่วนการจัดการทางอารมณ์ พบหลาก หลายวิธี เช่น เดินหนี หลีกเลี่ยง (ร้อยละ 62.50) ไม่สนใจ ไม่ตอบโต้ (ร้อยละ 43.38) และไหว้ พระสวดมนต์ (ร้อยละ 38.24) ผู้ชายและผู้หญิงมีการจัดการทางอารมณ์ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น การร้องไห้ การระบายความทุกข์กับครอบครัวและการปฏิเสธคำกล่าวหา นอกจากนั้น ยังพบว่า พฤติกรรมการเผชิญหน้าและตอบโต้มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่าการทำร้ายด้วยของมีคม/อาวุธทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็น 23 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ผู้ที่ไม่ใช้วิธีนี้ การทุบตีด้วยมือ/ไม้ ทำให้เกิดการบาดเจ็บเป็น 13 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ ใช้วิธีนี้ โดยผู้ที่มีความขัดแย้ง 14 ใน 272 ราย เคยได้รับบาดเจ็บในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา โดยสรุป ความขัดแย้งในคู่สมรสเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่ความรุนแรงในคู่สมรสสามารถป้องกัน ได้ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสม แต่ผลการศึกษานี้พบว่า คู่สมรสมากกว่าครึ่งระบุว่ามีความขัดแย้ง และพบว่าการจัดการแบบเผชิญหน้าและตอบโต้ก่อให้เกิดการบาดเจ็บ และพบว่าคู่สมรสจำนวนมากมีความต้องการบริการและต้องการคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

คำสำคัญ: พฤติกรรมการจัดการความขัดแย้ง ความขัดแย้งของคู่สมรส การบาดเจ็บของคู่สมรส ผู้ป่วยนอก เวชศาสตร์ครอบครัว

 

Abstract

Couple conflict is a common problem in Thai families and it has impact on quality of life. The purpose of this study was to examine the relationship between conflict management behavior and injury of the couples in outpatients of a Family Medicine Clinic. This survey was conducted in 272 outpatients of the Family Medicine Clinic, Ramathibodi Hospital who had couple conflict. The data were analyzed using percentage, Chi-square, and Odds Ratio and Logistic Regression. Findings revealed that 91.91% of the sample used problem-oriented coping such as accepting each other’s ideas, and problem-solving discussion. Men used this coping behavior more than did women (97.70% and 89.10%, respectively). There was no association between injury and problem-oriented coping. Emotional-oriented coping was also used such as avoiding (62.50%), ignoring (43.38%) and praying (38.24%). Men and women had no significant difference in emotional-oriented coping behaviors, except crying, family consultation, and denying the allegation. Both coping behaviors of attacking and beating with or without weapons were significantly associated with injuries. There were 14 of 272 subjects injured during the previous year. In brief, although the couple conflict could not be avoided, the violence should be prevented if they use effective coping methods. More than half of the sample had couple conflicts. It would be contributed to violence if they cope by confrontation and attacking methods. Findings indicate that most of the couples in conflict need counseling services and assistance from a conflict consultant.

Keywords: Conflict Management Behaviors, Couple conflict, Injuries of couples, Outpatients, Family Medicine Clinic

Article Details

How to Cite
1.
ทับทิมเทศ ส, พฤกษะริตานนท์ ส, พุ่มกำพล ธ. ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการจัดการความขัดแย้งกับการบาดเจ็บของคู่สมรสในผู้ป่วยนอกเวชศาสตร์ครอบครัว. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 May 3];17(3):396-411. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9043
Section
บทความวิชาการ