การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย

Main Article Content

สุทธานันท์ ชุนแจ่ม
โสภิณ แสงอ่อน
ทัศนา ทวีคูณ

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้เป็นการสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2517-2550 เพื่อศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยและวิเคราะห์รายละเอียดผลวิจัยที่เกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทย โดยสืบค้นจากฐานข้อมูลออนไลน์ สืบค้นด้วยตนเอง และความร่วมมือจากเครือข่าย พบงานวิจัยทั้งหมดจำนวน 183 เรื่อง แบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 177 เรื่อง การวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 5 เรื่อง และการวิจัยผสมผสานจำนวน 1 เรื่อง ผลการวิจัย มี 2 ประเด็นหลักคือ 1) คุณลักษณะของงานวิจัยพบว่า ชนิดงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยที่เป็น ส่วนหนึ่งของการศึกษาระดับมหาบัณฑิต ปี พ.ศ. ที่ตีพิมพ์งานวิจัยมากที่สุดคือ ปี พ.ศ. 2547-2550 แหล่งผลิตส่วนใหญ่มาจากทบวงมหาวิทยาลัย ประเภทการวิจัยเป็นการวิจัยพื้นฐานงานวิจัยทั้งหมด มีการระบุวัตถุประสงค์การวิจัยกรอบแนวคิดส่วนใหญ่สร้างจากการทบทวนวรรณกรรม ทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัยส่วนใหญ่ใช้ทฤษฎีทางจิตสังคม แบบการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบไม่ทดลอง ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยทางกายโรคเรื้อรัง มีการใช้ Center for Epidemiologic Studies- Depression Scale (CES-D), Beck Depression Inventory (BDI), Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) เป็นแบบสอบถามในการประเมินและคัดกรองภาวะซึมเศร้าเป็นส่วนมาก 2) รายละเอียด ผลการวิจัยวิเคราะห์ตามการวิจัยเชิงปริมาณแบบไม่ทดลองจำนวน 120 เรื่อง และแบบทดลอง/ แบบกึ่งทดลองจำนวน 57 เรื่อง พบว่า การวิจัยแบบไม่ทดลองเป็นการศึกษาเกี่ยวกับความชุก และอุบัติการณ์ของภาวะซึมเศร้าจำนวน 40 เรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายภาวะซึมเศร้า จำนวน 58 เรื่อง และการพัฒนาแบบวัดภาวะซึมเศร้าจำนวน 15 เรื่อง ส่วนการวิจัยแบบ ทดลอง/แบบกึ่งทดลอง พบว่า ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาผลของการบำบัดทางด้านจิตสังคมที่มีหลากหลายรูปแบบ เช่น การให้คำปรึกษาทั้งรายกลุ่มและรายบุคคลตามแนวคิดทฤษฎีต่างๆ เช่น Gestalt และ Roger เป็นต้น การบำบัดทางความคิด การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม การทำสมาธิ และการผ่อนคลาย เป็นต้น จากการสำรวจงานวิจัยในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า งานวิจัยที่ เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นการศึกษาในผู้ป่วยทางกายเป็น ส่วนใหญ่ ดังนั้น จึงควรสนับสนุนให้มีการศึกษาในผู้ป่วยทางจิตหรือในกลุ่มที่เสี่ยงต่อการเกิด ภาวะซึมเศร้า เช่น กลุ่มผู้ดูแล กลุ่มคนทำงาน เป็นต้น ให้เพิ่มมากขึ้นและสนับสนุนให้มีการวิจัย ที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในด้านการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูให้มากขึ้น

คำสำคัญ: การสำรวจงานวิจัย ภาวะซึมเศร้า งานวิจัยในประเทศไทย

 

Abstract

This study was a survey of depression research in Thailand conducted between 1967-2005 (B.E. 2517-2550). The objectives of this research were to describe and analyze research characteristics and research results. The depression research was searched from database network and by manual search. One-hundred eighty-three research articles were found and included in this study divided to a quantitative study (177 studies) and qualitative research (5 studies) and mixed method research (1 study). Results were summarized in two parts as follows. Firstly, regarding characteristics of depression research, most research studies were basic research and conducted as a part of academic work published during B.E. 2547-2550. They specified research objectives and used psychosocial theories as conceptual framework. Most studies were non-experimental quantitative research, and conducted in physically ill male and female adults. The Center for Epidemiologic Studies-Depression scale (CES-D), Beck Depression Inventory (BDI), and Thai Geriatric Depression Scale (TGDS) were used to assess depressive symptoms in most studies. Secondly, results from research analysis according to 120 non-experimental studies and 57 experimental studies showed that most non-experimental studies explored the prevalence and incidence of depression in various population groups (40 studies), factors related to and predictors of depression (58 studies), and the development of instruments to assess depression (15 studies). For experimental studies, most of them investigated the effect of various psychosocial interventions on depression such as individual and group counseling (e.g. Gestalt and Roger theory) cognitive therapy, cognitive behavioral therapy (CBT), meditation, and relaxation. In addition, most studies were conducted in physically ill patients, especially cancer patients. Results from this study suggested that research of psychiatric patients or at risk populations, such as caregivers and workers, should be conducted. Research on promotion and prevention of depression should be conducted.

Keywords: Survey research, Depression, Research in Thailand

Article Details

How to Cite
1.
ชุนแจ่ม ส, แสงอ่อน โ, ทวีคูณ ท. การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าในประเทศไทย. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 7 [cited 2024 Nov. 21];17(3):412-29. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9046
Section
บทความวิชาการ