ผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะ การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล

Main Article Content

โสพิศ สุมานิต
เรณู พุกบุญมี
เสริมศรี สันตติ
ศรีสมร ภูมนสกุล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล เลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์เฉพาะเจาะจงจากหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 และ 2 แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 40 ราย ทำการวิจัยกึ่งทดลองระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายนพ.ศ. 2552 กลุ่มควบคุมจำนวน 20 ราย ได้รับการพยาบาลปกติ และกลุ่มทดลองจำนวน 20 รายได้รับการพยาบาลปกติร่วมกับโปรแกรมเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนจากผู้วิจัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (ANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนการรับรู้สมรรถนะการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการวิจัยนี้เสนอแนะว่าการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนสามารถนำมาใช้เพื่อส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะการมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล เพื่อการให้บริการพยาบาลที่ตอบสนองตรงตามความต้องการและความคาดหวังของผู้ใช้บริการ และพัฒนาคุณภาพในการให้บริการทางการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมต่อไป

คำสำคัญ : การเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ผู้ดูแล, การมีส่วนร่วมดูแล, ผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤต

 

Abstract

The present study aimed at investigating the effects of self-efficacy promotion onperceived self-efficacy of caregivers who were participating in care provided to critically illchildren. The 40 subjects were selected by means of purposive sampling from the pediatricwards 1 and 2, Pediatric Department, Suratthani Hospital. This quasi-experimental researchwas conducted from June to September 2009. Twenty subjects in the control group receivedusual nursing care, whereas 20 subjects in the experimental group received usual nursing careas well as the perceived self-efficacy promotion program developed by the researchers. Datawere collected using a data record form and the Perceived Self-Efficacy Assessment Scale.Analysis of covariance was used to compare the differences between the mean scores ofboth groups. The findings showed that, the post-experimental mean score of perceived selfefficacyin the experimental group of caregivers was higher than that of the control group withstatistical significance when controlling for the influence of the pre-experimental mean scoresof caregivers’ perceived self-efficacy. The findings suggest that self-efficacy promotion canbe used to promote perceived self-efficacy among caregivers participating in care providedto critically ill children. Nursing service could become more responsive and serve the specificneeds and expectations of clients, as well as further develop the quality of holistic nursingservice.

Keywords : Self-efficacy promotion, Caregivers, Participating in care, Critically ill children

Article Details

How to Cite
1.
สุมานิต โ, พุกบุญมี เ, สันตติ เ, ภูมนสกุล ศ. ผลของการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้สมรรถนะ การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 10 [cited 2024 Apr. 28];17(1):63-74. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9055
Section
บทความวิชาการ