ผลของโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองต่ออาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบของผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติและกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก หน่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลเลิดสิน ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 40 ราย และกลุ่มทดลอง 30 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ ได้รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนจากการรักษาโดยรวม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเองที่พัฒนาตามกรอบแนวคิดของโอเร็ม เป็นการสนับสนุนและให้ความรู้ให้ผู้ป่วยดูแลช่องปากด้วยตนเองร่วมกับการใช้สมุนไพรกลีเซอรีนพญายอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติที สถิติแมนวิทนีย์ยู สถิติไคสแควร์ และการทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง มีอัตราการเกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ระยะเวลาการมีอาการ ความรุนแรงของอาการและความปวดในช่องปากน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และกลุ่มทดลองมีระยะเวลาเริ่มเกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบช้า กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาที่ได้แสดงว่าโปรแกรมการดูแลช่องปาก ด้วยตนเองช่วยลดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบได้ ดังนั้นควรนำโปรแกรมนี้ไปให้การดูแลผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัดผสมผสานกับการดูแลตามปกติที่มีอยู่เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการ รวมทั้งยืดระยะเวลาการเกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด
คำสำคัญ: โปรแกรมการดูแลช่องปากด้วยตนเอง อาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ผู้ป่วยมะเร็ง ยาเคมีบำบัด
Abstract
The quasi-experimental research design was used to study an oral self-care program for the prevention and relief of oral mucositis in patients with cancer who are receiving chemotherapy. Cancer patients who received chemotherapy in the short stay unit of the Lerdsin hospital in Bangkok, Thailand, between September 2010 and January 2011 were purposively selected according to the pre-determined criteria. The sample comprised of 70 cancer patients and was divided into two groups, forty patients in the control group and thirty patients in the experimental group. The control group received usual care, and the experimental group received the oral self-care program, developed based on Orem theory. The program was composed of teaching oral hygiene care, self-assessment and recording, food choice, fluid intake, avoiding oral cavity irritation, and oral dripping with a Thai herbal product Glycerine Payayor (Clinacanthus nutans (burm.F.) Lindau). Data were analyzed using descriptive statistic, independent t-test, Mann-Whitney U test, Chi square, and Fisher’s Exact test. It was found that the experimental group had significantly lower incidence, shorter duration, less severity, and less pain of oral mucositis than the control group. The onset of the symptoms in the experimental group was significantly later than the control group. Therefore, the oral self-care program can prevent and relief oral mucositis related to chemotherapy in patients with cancer.
Keywords: Oral self-care program, Oral mucositis, Cancer patients, Chemotherapy
Article Details
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในรามาธิบดีพยาบาลสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่หรือเพื่อกระทำการใด ใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากรามาธิบดีพยาบาลสารก่อนเท่านั้น