กรณีศึกษา: พฤติกรรม ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงในชุมชน

Main Article Content

สุมณฑา ห่วงทอง
นพวรรณ เปียซื่อ
จุฬารักษ์ กวีวิวิธชัย

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาแบบกรณีศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ปัญหาและอุปสรรค ในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ที่อาศัยอยู่ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุและมีความดันโลหิต อยู่ในระดับรุนแรง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาจำนวน 2 ราย เพศชายอายุ 50 ปี และ เพศหญิงอายุ 52 ปี มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีโซเดียมและไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย นอนหลับไม่เพียงพอ ขาดการพักผ่อนหย่อนใจ รับประทาน ยาไม่ต่อเนื่อง ลืมรับประทานยา และปรับขนาดยาเอง โดยมีปัญหาและอุปสรรคคือ 1) ความชอบอาหารที่มีไขมันสูงและอาหารผ่านขบวนการ มีความรู้ความเข้าใจไม่เพียงพอเกี่ยวกับการบริโภค อาหารที่มีโซเดียมและไขมันสูง การออกกำลังกาย และการรับประทานยา ลักษณะของการทำงาน และปัญหาเศรษฐกิจสังคมของครอบครัว 2) ขาดการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวและสังคม 3) เพื่อนบ้าน ลักษณะชุมชนที่มีการสูบบุหรี่และไม่มีการออกกำลังกาย อิทธิพลของสื่อ ปัญหาระบบบริการสุขภาพ และ 4) ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงและการออกกำลังกาย รวมทั้งธรรมเนียมของชุมชนในการดื่มสุราในงานเลี้ยง ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะสำหรับบุคลากรทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชนในการประเมินปัญหาอุปสรรคของการควบคุมความดันโลหิต ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโซเดียมและโซเดียมแฝงในอาหาร เครื่องปรุงรส และเครื่องดื่ม ข้อมูลไขมันในอาหาร และความสำคัญของการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง วิธีการสร้างแรงจูงใจเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการบริโภค การออกกำลังกาย การผ่อนคลายความเครียด และการรับประทานยาในผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง รวมทั้งการประสานความร่วมมือและพัฒนา ระบบการรักษาติดตามเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี

คำสำคัญ: กรณีศึกษา ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับรุนแรง การควบคุมความดันโลหิต ปัญหา และอุปสรรคในการควบคุมความดันโลหิต

 

Abstract

This case study research was aimed to investigate behaviors, problems, and barriers to blood pressure control in persons with severe hypertension living in Damneon Saduak District, Ratchaburi Province. They were diagnosed with primary hypertension at a severe level. Data were collected by in-depth interviews, and observation, then analyzed using content analysis. There were two cases including a male aged 50 years and a female aged 52 years. The findings revealed that the cases had food intake with high sodium, fat, and alcohol. They also smoked, did not exercise, had insufficient sleep and relaxation, did not adhere to medication, forgot to take medication, and self adjusted dosages. They therefore could not control their blood pressure. Problems and barriers consisted of 4 levels of environment: 1) individual and family level including preference for food with high fat content and processed food, insufficient knowledge on sodium consumption, exercise and medication taking, type of work, social and economic problems of the family; 2) interaction within family and social level including poor family relationship, and lack of interaction with family and society; 3) community level including neighbors, smoking environments, lack of exercise, mass media, and health service system; and 4) community beliefs and cultural practices including attitude toward consumption of food containing fat, exercise, and tradition of alcohol consumption. Results suggested that health care team working in the community: 1) assess problems on blood pressure control, 2) develop an approach to control food consumption of high sodium and fat by providing information about fat, sodium and concealed sodium including seasoning and beverages, 3) address the significance of medication adherence, and 4) promote attitudes that will lead to healthy behaviors for food consumption, exercise, and stress relaxation in persons with severe hypertension. This study also suggested the coordination and development of monitoring systems aimed for positive treatment outcomes.

Keywords: Case study, Persons with severe hypertension, Blood pressure control, Problems, and barriers to blood pressure control

Article Details

How to Cite
1.
ห่วงทอง ส, เปียซื่อ น, กวีวิวิธชัย จ. กรณีศึกษา: พฤติกรรม ปัญหาและอุปสรรคในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงระดับรุนแรงในชุมชน. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 10 [cited 2024 Apr. 29];19(1):129-42. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9116
Section
บทความวิจัย