การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

Main Article Content

พนิดา ไกรนรา
พรทิพย์ มาลาธรรม
สุรกิจ นาฑีสุวรรณ
ธีระศักดิ์ แก้วอมตะวงศ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติการดูแลตนเองเกี่ยว กับการใช้ยารับประทานและยาสูดพ่นขยายหลอดลมในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง 2) ปัจจัย พื้นฐานในการใช้ยา ได้แก่ สภาพสรีระ การช่วยเหลือของครอบครัว และการช่วยเหลือของ เจ้าหน้าที่สุขภาพ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพสรีระกับความสามารถในการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยใช้ทฤษฏีการดูแลตนเองของโอเร็มเป็น กรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มารับบริการที่หน่วย งานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 70 ราย เก็บ ข้อมูลตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน พ.ศ.2550 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับประทานยาตรงตามเวลาและตรง จำนวนที่แพทย์สั่งเป็นประจำ แต่ใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมในขนาดที่สูงกว่าแพทย์กำหนดเมื่อ เกิดอาการเหนื่อยหอบเฉียบพลัน ส่วนขั้นตอนที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ในการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลม คือ การกลั้นหายใจอย่างน้อย 5-10 วินาทีและการหายใจออกช้าๆ หลังสูดยา นอกจากนี้ พบว่าครอบครัวของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้การช่วยเหลือในการใช้ยารับประทานโดยช่วยเตือนให้รับประทานยา จัดยาให้ และสอบถามเจ้าหน้าที่สุขภาพเกี่ยวกับการใช้ยา ส่วนในการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมพบว่า ครอบครัวให้การช่วยเหลือเมื่อร้องขอ หรือเมื่อเกิดอาการเหนื่อยหอบเฉียบพลัน ส่วนการช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่สุขภาพพบว่า ได้รับคำแนะนำเรื่องจำนวนและ เวลาในการรับประทานยาทุกราย ส่วนการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลม เจ้าหน้าที่สอนวิธีการใช้ทุกขั้นตอน แต่ไม่ได้บอกเหตุผลและความสำคัญในแต่ละขั้นตอน ดังนั้น กลุ่มตัวอย่างจึงใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลมไม่ถูกต้องทุกขั้นตอน จากการตรวจร่างกาย พบว่าจำนวนฟันหน้าที่ครบมีความสัมพันธ์กับการอมปากกระบอกหลอดยาพ่นได้สนิท อาการมือสั่นมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการกดหลอดยาพ่นได้น้อย และความจุปอดน้อยมีความสัมพันธ์กับความสามารถในการกลั้นหายใจอย่างน้อย 5-10 วินาทีหลังสูดยาไม่ได้ ผลการศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องใช้ยารับประทานและยาสูดพ่นขยายหลอดลมต้องได้รับการช่วยเหลือจากครอบครัว และเจ้าหน้าที่สุขภาพ โดยมีการประเมินสภาพสรีระที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา เจ้าหน้าที่สุขภาพ ควรให้ความสำคัญในการแนะนำ /การสอนสาธิต และการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการ ส่งเสริมการดูแลตนเองที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

คำสำคัญ: การดูแลตนเอง การใช้ยา ยาสูดพ่น ผู้สูงอายุ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

 

Abstract

This descriptive study aimed to: 1) describe self-care actions for medication use both oral and inhaled medications; 2) describe basic factors for medication use; and 3) examine the relationship between physical status and ability to use inhaled medications in older patients with chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Orem's self-care theory was used as the conceptual framework for the study. Purposive sampling was used to recruit 70 older persons with COPD at the Out Patient Department, Prachuapkhirikhun Hospital, Thailand, from February to April 2007. Findings revealed that most participants took the right dose of oral medicine and at appropriate times as prescribed by the physician. However, as for inhaled medications, they used a higher number of puffs than prescribed, particularly, when acute exacerbation occurred. Most participants were unable to hold their breath for at least 5-10 seconds nor slowly exhaling. Additionally, the participants received family support regarding oral medicines by reminding, preparing medications, and contacting healthcare personnel. For the inhaled medications, family members assisted only when the sample had acute exacerbation. The study findings also indicated that healthcare professionals gave all participants advice on the time and dose of oral medications, but did not advise the step to use inhaled medications appropriately. As the result, the participants did not realize the importance of each step. From the physical examination, the analysis revealed that the number of incisors was positively related to the ability to cover the mouthpiece of the metered dose inhaler; hand tremor was related to the low ability to press the canister; and the less forced vital capacity of pulmonary function was associated with the participants' inability to shortly hold their breath after using the inhaled medication. From the findings, it can be concluded that to ensure appropriate self-care for medication use in older patients with chronic obstructive pulmonary disease, assistance from family members and healthcare professionals is needed. Lastly, physical examination regarding medication use should also be taken into account.

Keywords: Self-care, Medication use, Inhaled medications, Older patients, Chronic obstructive pulmonary disease

Article Details

How to Cite
1.
ไกรนรา พ, มาลาธรรม พ, นาฑีสุวรรณ ส, แก้วอมตะวงศ์ ธ. การดูแลตนเองเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 10 [cited 2024 Nov. 23];17(2):287-304. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9129
Section
บทความวิชาการ