ผลของโครงการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อความรู้ ทัศนคติ และ การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาล

Main Article Content

ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ
อัจฉรียา ปทุมวัน
สมทรง จุไรทัศนีย์
อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช

Abstract

บทคัดย่อ

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นประเด็นปัญหาด้านบริการที่สำคัญในระบบ สาธารณสุขของประเทศไทย แต่กลับพบว่าพยาบาลที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีมักได้รับ การเตรียมสำหรับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายไม่เพียงพอ ทำให้พยาบาลรู้สึกไม่สบายใจที่จะให้การ ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย มีรายงานพบว่าการจัดโปรแกรมฝึกอบรมความรู้ช่วยส่งเสริมการดูแล ผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาติดตามผลของโครงการอบรม การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ให้แก่พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยทั่วไปและหอผู้ป่วยวิกฤติ โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มีพยาบาลจำนวน 86 รายเข้าร่วมการอบรมความรู้เกี่ยวกับ การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นเวลา 2 วัน ประมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้าย โดยให้ตอบแบบสอบถาม 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนเข้ารับการอบรม (ครั้งที่ 1) หลังได้รับ การอบรม 1 เดือน (ครั้งที่ 2) และหลังได้รับการอบรม 3 เดือน (ครั้งที่ 3) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังการอบรม 1 เดือน และ 3 เดือน สูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของคะแนน การปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหลังการอบรม 3 เดือนสูงกว่าหลังการอบรม 1 เดือน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน แต่ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ และทัศนคติในการดูแลผู้ป่วย ระยะสุดท้ายหลังการอบรม 1 เดือนและ 3 เดือนไม่มีความแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้ เห็นว่าโปรแกรมการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ที่ช่วยเพิ่มความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาลซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

คำสำคัญ : โปรแกรมการให้ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, ความรู้ ทัศนคติ, การปฏิบัติ

 

Abstract

Caring for end-of-life patients is an important issue in health care service in Thailand. However, nurses who completed their baccalaureate nursing education often had inadequate preparation for supporting patients towards the end-of-life (EOL). They felt uncomfortable in dealing with dying patients. A training program has been reported to improve EOL care for terminally ill patients. The purpose of this study was to evaluate the effects of an EOL care education program among nurses from general and intensive care units of a university hospital. Eighty-six nurses participated in a two-day EOL care education program were assessed knowledge, attitude, and practice toward EOL care by self-reported questionnaires three times: pretest (Time 1), posttest one month apart (Time 2) and posttest three months apart (Time 3). The results showed that the mean scores of knowledge, attitude, and practice toward EOL care at Time 2 and Time 3 were significantly higher than Time 1. The mean scores of practice toward EOL care at Time 3 were also significantly higher than Time 2. However, there were no significant different between the mean scores of knowledge and attitude in EOL care at Time 2 and Time 3. This study provides evidence showing that the EOL care education program is an effective strategy to enhance nurses’ knowledge, attitude, and practice in EOL care, which is part of holistic care.

Keywords : End-of-life care education program, End-of-life patients, Knowledge, Attitude, Practice

Article Details

How to Cite
1.
หาญประสิทธิ์คำ ข, ปทุมวัน อ, จุไรทัศนีย์ ส, ไพศาลสุทธิเดช อ. ผลของโครงการอบรมการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายต่อความรู้ ทัศนคติ และ การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของพยาบาล. Nurs Res Inno J [Internet]. 2013 Jun. 10 [cited 2024 Apr. 28];17(1):126-40. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9148
Section
บทความวิชาการ