ผลของการให้คำปรึกษาในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อดัชนีทางสุขภาพ

Main Article Content

Oratai Somnarin
อนุสรา มั่นศิลป์
Varangkana Muangmeesri

บทคัดย่อ

งานวิจัยก่อนการทดลองในครั้งนี้เพื่อศึกษาผลของการให้คำปรึกษาต่อระดับน้ำตาลและไขมันในเลือด ความดันโลหิต ดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอว ในกลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 29 ราย ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษา 5 ครั้ง ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ การอธิบายความรู้เกี่ยวกับโรคที่อาจเกิดและผลการตรวจเลือดต่าง ๆ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การเลือกรับประทานอาหารที่สร้างเสริมสุขภาพ และการตั้งเป้าหมายร่วมกันในการหาวิธีการแก้ไขปัญหาสุขภาพ ตามกรอบแนวคิดทฤษฎีของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละ 3-5 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพ แบบบันทึกผลการตรวจเลือด ค่าความดันโลหิต ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการให้คำปรึกษาในช่วงระยะเวลา 12 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยสถิติบรรยาย สถิติการทดสอบที่แบบจับคู่ (pairedt-test)และสถิติ Wilcoxon,s signed rank test ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ได้แก่ ไม่มีเวลารับประทานอาหารมื้อเช้า ต้องรีบเร่งเพื่อไปทำงาน มักจะรับประทานอาหารมื้อเย็นหรือก่อนนอน ไม่มีเวลาออกกำลังกาย ขาดความรู้และขาดแรงจูงใจต่อการออกกำลังกาย มีความเครียดความวิตกกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจและความรับผิดชอบในการดูแลบุคคลในครอบครัวเมื่อเปรียบเทียบดัชนีทางสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างระหว่างก่อนและหลังการให้คำปรึกษา 12 เดือน พบว่าค่า้ฉลี่ยระดับน้ำตาล ไขมันคอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ ความดันโลหิตตัวล่าง ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวน้อยกว่าก่อนการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยความดันโลหิตตัวบนคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นต่ำหรือไขมันชนิดไม่ดี และ คอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นสูงหรือไขมันชนิดดี มีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกับก่อนการให้คำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการให้คำปรึกษาสามารถลดความเสี่ยงของสุขภาพที่สำคัญบางอย่างได้ (ระดับค่าน้ำตาล) กลูโคสและไขมันในเลือด ความดันโลหิตตัวล่าง ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอว) ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง อย่างไรก็ตาม การใช้ผลวิจัยในการสรุปอ้างอิงยังมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นงานวิจัยแบบก่อนการทดลอง ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเชิงทดลองถึงประสิทธิผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาเพิ่มเติมต่อไป


คำสำคัญ : การให้คำปรึกษา ดัชนีทางสุขภาพ กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

อนุสรา มั่นศิลป์, Faculty of Nursing, Rattana Bundit University

Lecturer Anutsara Mansin

References

Chumee P. Non-communicable chronic diseases situation.Boromarajonani College of Nursing Suratthani; 2022[cited 2023 August 12]. Available from: http://110.164.147.155/kmhealth_new/Documment/blood/knowlage/17.pdf (in Thai)

Krasanairawiwong T. News of public health framework.Bureauof Information Office of The Permanent Secretary of Ministry of Public Health, Department of Disease Control, Ministry of Public Health; 2022 [cited 2023 January 20]. Available from :https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/(in Thai)

Division of Non-Communicable Diseases. Number and morbidity/death rate in 2016–2019. [Internet]. 2019[cited 2022 Jun 27]. Available from: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13893&tid=32&gid=1-020 (in Thai)

Kranjanapiboonwong A, Kumwangsakya P, Krawta S.Situation report of NCDs diabetes mellitus, hypertension and factors related at the year of 2019.Kranjanapiboonwong A. (editor). Division of Non-Communicable Diseases,Departmentof Communicable Disease Control, Ministry of Public Health. Aksorn Graphic and Design Printing;2020. (in Thai)

Department of Nursing.Statistical database of patients with diabetes mellitus and hypertension disease in Phachatipat

hospital at the year of 2019. Department of Nursing,Phachatipat hospital. 2020.(copydocument).(in Thai)

SoiwongP.Medicalnursing. 2nd ed., Faculty of Nursing,Chiangmai University; 2021. (in Thai)

Opasanon S. Diabetic foot and foot care. Department of Surgery, Faculty of Medicine Siriraj Hospital. 2013 October 4 [cited 2024 February 24]. Available from:https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=915 (in Thai)

Blood pressure BPUK (Helping you to lower your blood pressure). What do the numbers mean? Blood Pressure Association, England and Wales; 2021 [cited 2023 November 20]. Available from: http://www. bloodpressureuk.org/BloodPressureandyou/Thebasics/Bloodpressurechart

Cho YI, Lee,SY, Arozullah, AM, Crittenden K. Effects of health literacy on health status and health service utilization amongst the elderly. Soc Sci Med. 2008;66:1809-16.

Schwarzer R. (2016). Health action process approach (HAPA) as a theoretical framework to understand behavior change.Actualidades En Psicología.2016;30(121):119–30.https://doi.org/10.15517/ap.v30i121.23458

Pengpid S, Peltzer K, Jayasvasti I, Aekplakorn W,Puckpinyo A, Nanthananate P, et al. Two-year results of a community-based randomized controlled lifestyle intervention trial to control prehypertension and/or prediabetes in Thailand: a brief report. Int J of Gen Med.2019;12:131–5.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities.Educ Psycho Meas.1970;30(3):607-10.

Diabetes 2560(Final)06-11-60.indd.Risk assessment,screening guidelines, diabetes mellitus in adult diagnosis and clinical assessment initiative diagnosis. Clinical Practice Guideline for Diabetes; 2017 [cited 2019 September 14]: 25-27. Available from: https://www.si.mahidol.ac.th/Th/division/diabetes/admin/download_files/57_44_1.pdf (in Thai)

Lincharearn A. Qualitative data analysis techniques.Journal of Educational Measurement Mahasarakham University; 2012 [cited 2023 November 19]. 17 (1):17-29. Available from: https://opac01.rbru.ac.th/multim/journal/00405.pdf

Aekparakarn V. The 5thSurveyof Thaipeople’shealthby physical examination 2014. Health Systems Research Institute (HSRI). Aksorn Graphic and Design Printing;2016:pp. 5-6. (in Thai)

Morasakul B,PunthaseeP,Ponakorn V, TreebumrungS.Health behavior regarding hypertension and diabetes mellitus: a case study of the legacy community, Sananrak municipality office, Pathumthani province. Journal of Public Health Nursing. 2021;35(1):69-89. (in Thai)

Jariyasakulwong P, Charoenkitkarn V,Pinyopasakul W,Sriprasong S, Roubsanthisuk W. Factors influencing on health promoting behaviors in young adults with hypertension. Princess of Naradhiwas University Journal.2015;7(3):26-36. (in Thai)

Kiatpao R. Outcomes of health behavior modification program toward risk reduction for hypertension and diabetes mellitus among population at risk, Thapthan districts, Uthaithani province. Journal of Health Science.2017;24(3):405-12. (in Thai)

SuriwunP.Health behavior promotion model for risk group of diabetes mellitus and hypertension disease based on knowledge management process Lumphun province.Department of Health Service Support Journal.2021;17(2):41-50. (in Thai)