เปรียบเทียบผลการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลกับการให้บริการแบบดั้งเดิม ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ฐนิตา สมตน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพทางไกล , การให้บริการแบบดั้งเดิม , ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์: ระบบบริการสุขภาพการแพทย์ทางไกล (telemedicine) เป็นการใช้เทคโนโลยีมาช่วยส่งเสริมด้านการรักษาทางด้านการแพทย์ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว เอื้อประโยชน์ในการติดตามผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด19 ในเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี ซึ่งอาจใช้ทดแทนการรักษาแบบดั้งเดิม ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาเปรียบเทียบค่าระดับน้ำตาลในเลือดและพฤติกรรมในกลุ่มที่ให้การดูแลผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกล (telemedicine) และกลุ่มควบคุมที่มีการจัดบริการเคลื่อนที่ภายในเรือนจำ

วัสดุและวิธีการ: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental study) กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานในเรือนจำทั้งหมด 45 รายแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2566  -  1 เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบพฤติกรรมและระดับน้ำตาลในเลือดก่อนหลังเข้าร่วมวิจัยของทั้ง 2 กลุ่ม โดยใช้สถิติ Independent t test และ Paired t-test

ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยจำนวน 45 คน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้ง 2 กลุ่ม พบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองกลุ่มที่ให้การดูแลผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกล (telemedicine) (=3.09, S.D.= 0.33) มากกว่ากลุ่มที่มีการจัดบริการแพทย์เคลื่อนที่ภายในเรือนจำ (In-person) (=2.94, S.D.= 0.33) เล็กน้อย อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.14) เปรียบเทียบการควบคุมระดับน้ำตาลด้วยสถิติ Independent t-test พบว่าทั้ง 2 กลุ่มผู้ป่วยมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้น โดยกลุ่มที่ได้รับดูแลด้วยการแพทย์ทางไกลมีระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) และน้ำตาลสะสม (Hba1C) ลดลงน้อยกว่าการแพทย์เคลื่อนที่ (Tele: Pre FBS =119.8 ,Post FBS =114.4), (In-person:Pre FBS =128.9 ,Post FBS =125.2), (Tele:Pre Hba1c =7.1, In-person:Post Hba1c =6.9) และ (In-person:Pre Hba1c =7.9 ,Post Hba1c =6.9) ตามลำดับอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต่างการควบคุมระดับน้ำตาลของทั้ง 2 กลุ่มเมื่อครบ 3 เดือน ด้วยสถิติ Pair t-test พบว่าระดับน้ำตาลสะสมในกลุ่มให้บริการการแพทย์ทางไกลลดลง 0.21% อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.46) และการลดลงของระดับน้ำตาลสะสมในกลุ่มแพทย์เคลื่อนที่ 1.11% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

สรุปผล: การดูแลผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้เช่นเดียวกับการจัดบริการเคลื่อนที่ เป็นการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการของผู้ต้องขังทดแทนการใช้การรักษาแบบเดิมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการรักษาโดยผู้ต้องขังไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามารักษาในโรงพยาบาลสามารถได้รับการวินิจฉัย ตรวจรักษาจากแพทย์  เพิ่มความรวดเร็วและลดภาระงานของแพทย์ในการเดินทางไปให้บริการ สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการดูแลด้วยการแพทย์ทางไกลในเรือนจำ

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราผู้ป่วยในปี 2563 – 2565 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก http://thaincd.com/2023/mission.%20document-detail.php.

ระบบรายงานข้อมูล HDC 2566.ข้อมูลสถานะสุขภาพ[อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://sni.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=589248f2516fbb85d4a4a5605c3ca1c4

แพทยสภา. ประกาศแพทยสภา เรื่องแนวทางปฏิบัติการแพทย์ทางไกลหรือโทรเวช (telemedicine) และคลินิกออนไลน์ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://tmc.or.th/index.php/News/News-and-Activities/Telemedicine

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. การดำเนินการจัดบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ (New Normal Medical Service) สมุทรปราการ: บริษัทบอร์นทูบีพับลิซซิ่งจำกัด; 2563.

Becker, M.H. (1974) The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs, 2, 324- 508.

Bloom, Benjamin S. Learning for mastery. Evaluation comment. Center for the study of instruction program. University of California 1968; 2 :47-62.

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์, สุวิมล แสนเวียงจันทร์ และประทีป ปัญญา. (2553). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส.

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่เกาะ [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/261554

บุษยมาส บุศยารัศมี. ศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 15 ตุลาคม 2566] เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/262135

กรรณิการ์ ยิ่งยืน. นวัตกรรมเพื่อการจัดการตนเองผ่านระบบบริการสุขภาพทางไกลสำหรับผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. ศรีนครินทร์เวชสาร 2559. 2559;31.

Kassar K, Roe C, Desimone M. Use of Telemedicine for Management of Diabetes in Correctional Facilities. Telemed J E Health 2017; (1):55-59. doi: 10.1089/tmj.2016.0036.

Faruque LI, Wiebe N, Ehteshami-Afshar A, et al. Effect of telemedicine on glycated hemoglobin in diabetes: a systematic review and meta-analysis of randomized trials. CMAJ 2017;189(9):E341-E364. doi: 10.1503/cmaj.150885.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-27