การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • บุษยมาส บุศยารัศมี พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล, 6 building blocks, รูปแบบยุควิถีใหม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ และพัฒนารูปแบบและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่ ด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (telemedicine) ภายใต้กรอบแนวคิดระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (6 building blocks)

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีการดำเนินงานมี 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสถานการณ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง ในอำเภอเมืองนครปฐม  2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง  3) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) บุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 25 คน 2) บุคลากร รพ.สต. จำนวน 4 แห่ง ที่จัดบริการตรวจรักษาด้วย เทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน 3) ผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงที่มารับการตรวจรักษาด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล ระหว่างเดือนมกราคม–ธันวาคม 2565 คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของยามาเน่ ทำการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 214 และ 268 คน ตามลำดับ

เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูลการรักษาผู้ป่วย และแบบสอบถามความพึงพอใจและประสิทธิผลของรูปแบบ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญและทดสอบความเชื่อมั่น Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.89  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ paired t test และประเมินผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดใช้สถิติ one sample t test

ผลการศึกษา:

  1. สถานการณ์ของการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในตำบลที่อยู่ชายขอบของอำเภอ

เมืองนครปฐมมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยขาดการรักษาต่อเนื่อง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตไม่ได้ตามเกณฑ์เป้าหมาย

  1. ด้านบุคลากร หลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย มีความเห็นว่าระดับบริหารจัดการโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี (= 3.71, SD = 0.458) ยกเว้นเรื่องระบบ financing อยู่ในระดับปานกลาง (=2.69, SD = 0.841)
  2. ด้านผู้ป่วย กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีค่าเฉลี่ยของระดับ FBS ลดลงจาก 168.57 เป็น 148.20 ซึ่ง

ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) ส่วนค่าเฉลี่ยของค่า HbA1C ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับกลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีค่าเฉลี่ยของระดับความดันซิสโทลิกและความดันไดแอสโทลิก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) แต่ยังไม่สามารถควบคุมระดับความดันซิสโทลิกได้ตามเกณฑ์ แต่สามารถควบคุมระดับความดันไดแอสโทลิกได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = .004) โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.81, SD = 0.472)

สรุป: หลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น บุคลากรได้รับการสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงด้วยระบบเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (telemedicine) ครอบคลุมกรอบแนวคิดระบบสุขภาพ (6 building blocks)  อยู่ในระดับดี ส่งผลให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้สะดวก ประสิทธิผลการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตดีขึ้น ผู้ป่วยเกิดความพึงพอใจ

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. เอกสารประกอบการตรวจราชการและนิเทศงานประจำปี 2564 รอบที่ 2; 10-11 สิงหาคม 2564; นครปฐม: ม.ป.ป.; 2564: หน้า 88.

โรงพยาบาลนครปฐม. รายงานการประเมินตนเอง (SAR 2020) โรงพยาบาลนครปฐม.นครปฐม : โรงพยาบาลนครปฐม; 2564: หน้า 45–6.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการจัดบริการคลินิกเบาหวานความดันโลหิตสูงวิถีใหม่แบบยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง สำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563: หน้า 3.

รุจฬ์สวัตต์ ครองภูมินทร์. การแพทย์ทางไกลแอปพลิเคชันพบหมอกับความปกติใหม่หลังโควิด 19 ด้วยมุมมองทางทฤษฎีสื่อสารมวลชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต 2564;17(1):18–36.

วิชุดา จันทะศิลป์. การดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน: ในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2565;2(2):1–8.

วนิดา สมภูงา, มะลิ สุปัตติ. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรคเบาหวานด้วยหลักการ 6 building blocks จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565;15(1):142–55.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. Six Building Blocksof A Health System.

KIM Release 2562;5(5):1.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560. พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: รมเย็นมีเดีย; 2560: 21–76.

วินัย ปะสิ่งชอบ. การรักษาผู้ป่วยเบาหวานเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลมาบตาพุด จังหวัดระยอง.วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558; 22(1): 21–33.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย.แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. เชียงใหม่: ทริคธิงค์การพิมพ์; 2562: 9–25.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร, มณฑนา พิพัฒน์เพ็ญ. การดูแลตนเอง เพื่อลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในบริบทไทย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2561: 5–10.

เนตรเพชรรัสมิ์ ตระกูลบุญเนตร. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนวุติสมเด็จย่า. วารสารพยาบาลตำรวจ 2558;9(2): 64–74.

รัชนี หลงสวาสดิ์. ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล 2562;4(3): 60–70.

จารุวัณย์ รัตนะมงคลกุล. แอปพลิเคชันไดเอทซ์ (Dietz): เทเลเมดิซีนเพื่อการติดตามการรักษาและการดูแลตัวเองของผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารสมาคมเวชสารสนเทศไทย 2565;1(1): 46–54.

ร่างทอง พันธ์ชัย. ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่อการให้บริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสขุภาพตำบล เขตอำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร วารสารบัณฑิตศึกษา 2557;52(11): 149–55.

เกรียงกมล เหมือนกรุด, ศิริพักตร์ มัฆวาล, ปาจารีย์ อุดมสุข, และคณะ. ความสำเร็จในการแปลงนโยบายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสู่การปฏิบัติในสถานบริการสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 : กรณีศึกษา NCD Clinic Plus ปี พ.ศ.2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: https://phcn.hss.moph.go.th/fileupload_doc/2021-10-14-7-21-3739686.pdf

เผยแพร่แล้ว

2023-03-30