การวางแผนบั้นปลายชีวิตในผู้ป่วยวัณโรค

ผู้แต่ง

  • ปิยะวดี สุมาลัย สถาบันบำราศนราดูร
  • วรุณยุพา สกล สกล สถาบันบำราศนราดูร
  • อารีรัตน์ นิลาวรรณ์ สถาบันบำราศนราดูร

DOI:

https://doi.org/10.14456/taj.2021.4

คำสำคัญ:

วางแผน, บั้นปลายชีวิต, ผู้ป่วยวัณโรค

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนบั้นปลายชีวิตผู้ป่วยวัณโรคและความเข้าใจของผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง ดำเนินการวิจัย ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม 2562-2 มีนาคม 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัณโรค จำนวน 28 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบประเมินวางแผนบั้นปลายชีวิตของโรงพยาบาลบางด้วน จังหวัดสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และ ค่าเฉลี่ย

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 28 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรค เป็นเพศชาย 20 ราย (ร้อยละ 71.43) เพศหญิง 8 ราย (ร้อยละ 28.57) โดยมีอายุเฉลี่ย 55.32 ปี (SD=18.09) จากข้อคำถามในแบบประเมินพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีความสุขน้อย (ร้อยละ 92.90) สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตของผู้ป่วยคือ ครอบครัว (ร้อยละ 60.70) ไม่ต้องการความทุกข์ทรมาน (ร้อยละ 82.20) คิดว่าโรคที่เป็นอยู่ไม่แน่ใจว่าจะหายหรือจะไม่หาย (ร้อยละ 75.00) ถ้าเลือกได้อนาคตมีชีวิตอยู่อีก 5 ปี (ร้อยละ 46.40) และ มีสิ่งที่เป็นห่วงยังจัดการไม่เรียบร้อยคือเรื่องครอบครัว (ร้อยละ 42.90) และถ้าอยู่จนครบเวลาต้องการจากไปแบบจะสู้กับโรคและอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้จะทุกข์ทรมานแค่ไหนก็ตาม ในอนาคตถ้าอาการทรุดหนัก ให้แพทย์ช่วยให้ยารักษาอาการทั่วไป เพื่อให้ไม่ทุกข์ทรมาน สำหรับความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับการดูแลแบบประคับประคอง คือ เมื่อเจ็บป่วยได้ให้ยารักษา ไม่ทุกข์ทรมาน และการมีชีวิตอยู่โดยไม่เป็นภาระแก่คนที่รัก ต้องการได้รับการยอมรับ ไม่ถูกมองว่าเป็นภาระของญาติมิตรหรือบุคลากรทางการแพทย์ สามารถได้รับการอธิบายถึงอาการที่เป็นอยู่และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

          การศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลที่ได้เป็นแนวทางในการให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยรายอื่น (ในประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติว่าจะต่อสู้กับโรค) เป็นแนวทางในการตัดสินใจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

Division of Tuberculosis, Department of Disease Control. The TB situation in Thailand. [Internet]. [cited 2019 Jan 20]. Available from https://www.tbthailand.org.

World Health Organization. Palliative Care. [Internet]. [cited 2019 Feb 10]. Available from https://www.who.int/health-topics/palliative-care.

Darin Jaturapatporn. Happiness, love and understanding in the end of life. 1st edition, Bangkok: Amarin Printing and Publishing Public Company Limited (TH); 2018. (in Thai)

Department of Medical Services, Ministry of Public Health. Guidelines for the care of the terminally ill patients. 1st edition, Bangkok: 2017. (in Thai).

The National Health Commission office. Guide for the People, Palliative Care of the Elderly. 1st edition, Bangkok: Pimdee company (TH); 2018. (in Thai)

Tassanee Tongprateep. Spirituality : A dimension of nursing. 1st edition, Bangkok: Chulalongkorn University Press (TH); 2011. (in Thai)

Office of Nursing, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. Palliative nursing service system. Bangkok: Publishing of Suetawan (TH); 2016. (in Thai)

The Suandok Palliative care center, Maharaj Nakorn Chaing Mai hospital. Palliative Performance Score (PPS). [Internet]. [cited 2019 Mar 15]. Available from https://w2.med.cmu.ac.th/spc/index.php?lang=en

Pragai Jirojanakul. Nursing Research: Concepts, Principles and Practices. 2nd edition, Nonthaburi: Academic Welfare Program Royal, Institute of Thailand Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health (TH); 2007. (in Thai)

Bangduan Samutprakan Hospital. End-of-Life Planning Assessment Form. Samut Prakan Model Document Samut Prakan Provincial Public Health Office (Document not published), 2016.

Tanawan Sinprasert. Learning to manage the end of life. [dissertation]. [Nakhon Pathom]: Silapakorn University; 2013.

Araya Tipwong, Bumpenchit Sangchart. Cultural care for older persons with end of life in community. Thai Journal of Nursing. 2019 Jan; 68(1), 11-19.

Suphaphon Daodi, Choerchai Loetchitlekha, Wirot Suplinwong. Palliative care: a Christian perspective. 1st edition, Bangkok: Saint Louis College (TH); 2010. (in Thai)

Gewadee Thamanee, Autchareeya Patoomwan, Johnphajong Phengjard. Palliative Care Needs of Children with Cancer and Their Families as Perceived by Family Caregivers. Rama Nurs J. 2018 September-December. 24(3): 295-312.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-05-25