ผลการพัฒนากระบวนการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี
DOI:
https://doi.org/10.14456/taj.2022.1คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, ผู้มีเชื้อเอชไอวีบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยศึกษาข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี และสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 13 คน รวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถาม และศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22 คน ได้แก่ ผู้มีเชื้อเอชไอวี จำนวน 13 คนที่เป็นกลุ่มเดิม และทีมวิทยากรกระบวนการฯ จำนวน 9 คน รวบรวมข้อมูลจากการบันทึกกิจกรรมตามทักษะที่ได้เรียนรู้ของผู้มีเชื้อเอชไอวี และสนทนากลุ่มย่อย ทีมวิทยากรกระบวนการฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของตัวแปร ด้วยสถิติ paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า หลังการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แสดงให้เห็นว่ากระบวนการนี้มีประสิทธิผลในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง เอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวี สอดคล้องกับความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างว่ากระบวนการนี้มีประโยชน์และนำไปใช้ได้จริง อาจปรับใช้เนื้อหาตามความเหมาะสม การจัดการเวลา การเตรียมตัวของทีมวิทยากร และการสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ร่วมกัน ในส่วนของพฤติกรรมการรักษาเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเร็วและต่อเนื่องก่อนและหลังไม่แตกต่างกัน เนื่องจากกลุ่มผู้มีเชื้อเอชไอวีมีพฤติกรรมที่ดีอยู่แล้ว ดังนั้น กระบวนการนี้จึงควรมีการสร้างเสริมความรอบรู้ในระดับบุคคลอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง และครบถ้วนทุกทักษะ รวมถึงการพัฒนาปัจจัยเชิงระบบ เช่น นโยบาย สื่อความรู้ ช่องทางการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น และควรมีการติดตามผลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในระยะยาว
Downloads
References
United Nations. Programme on HIV/AIDS (UNAIDS) [Internet]. [cited 2020 May 19]. Available from https://www.unaids.org/en
HIV info hub. Division of AIDS and STIs [Internet]. [cited 2020 May 19]. Available from http://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
Taweesap Sirapraphasiri. National Strategy on Ending AIDS 2017-2030, Bangkok: NC concept Co., Ltd (TH); 2017. (in Thai)
World Health Organization. Health Promotion Glossary. Division of Health Promotion, Education and Communications, Health Education and Health Promotion Unit, World Health Organization. Geneva: 1998.
Kwanmuang Kaeodumkoeng. Health Literacy: access understand and application. 2nd edition. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public., Ltd; 2018. (in Thai)
Kwanmuang Kaeodumkoeng. Health Literacy: functional interactive critical. 1st edition. Bangkok: Amarin Printing & Publishing Public., Ltd; 2019. (in Thai)
Fisher, J. D., & Fisher, W.A.. Changing AIDS risk behavior. Psychological Bullentin. 1922; 111(3): 455-74. DOI: 10.1037/0033-2909.111.3.455
Kwanmuang Kaeodumkoeng. K-shape 5 skills to increase health literacy. Journal of the Health Education Professional Association. 2020; 35(2): 22-6.
Pornthip Yuktanon, Lisa Kanthamala and Penpak U-thit. HIV/AIDS treatment Literacy. 4th edition. Bangkok: National Buddhism Publishing House; 2013. (in Thai)
Porakot Soofon. The result of HIV Literacy Program to promote behavior of living together without abhorrence among village health volunteers. Thai AIDS journal. 2020; 32(1): 1-14.
Kalichman SC, Cherry C, Kalichman MO, Amaral C, White D, Grebler T, et al. Randomized clinical trial of HIV treatment adherence counseling interventions for people living with HIV and limited health literacy. JAIDS. 2013; 63(1): 42-50. DOI: 10.1097/QAI.0b013e318286ce49
Nutchanart Kaeodumkoeng, Siriporn Piyayothai, Juthamat Makkunchorn, Sirikoon Chaijarern, Benjamard Jaingam, Kesinee Khainwaree. Evaluation of learning based on the process for enhancing health literacy on HIV and STIs (HIV and STIs Literacy) among men who have sex with men according to the Kirkpatrick model. Thai AIDS journal. 2020; 32(3): 114-31.